การศึกษาไร้พรมแดนไทย-ญี่ปุ่น พัฒนาผู้เรียนสู่สากล โรงเรียนวิจิตราพิทยากับมหาวิทยาลัยยามาดะ

   เมื่อ : 04 ม.ค. 2567

            จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเมืองใหญ่ทางภาคตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศไทย มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้าน การศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม สืบทอดมายาวนานกว่า 200 ปี

            โรงเรียนวิจิตราพิทยา อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2499 เริ่มแรกเป็นโรงเรียนของกองทัพบก โดยมี ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ให้การอุปการะ ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 4 กระทรวงศึกษาธิการ มีนางพัชรินทร์ สันตินิยม เป็นผู้อำนวยการ มีข้าราชการ ครู 101 คน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มี นักเรียนชายหญิงรวมทั้งสิ้น 1,639 คน

          ในยุคโลกาภิวัฒน์ ภาษาญี่ปุ่นมีความสำคัญในการสื่อสารต่อชาวโลก และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้า

            ความเป็นมา : เมื่อปี 2539 นายรักษา ศรีภา ผู้อำนวยการโรงเรียนวิจิตราวิทยา พร้อมนางพัชรินทร์ สันติยม ผู้ช่วยผู้อำนวยการในขณะนั้น ได้ไปกราบนมัสการพระ อาจารย์มิตซูโอ คเวสโก ที่วัดป่านานาชาติ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เพื่อปรึกษาหารือการจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในโรงเรียนวิจิตราวิทยา และการพัฒนาครูผู้สอนภาษาญี่ปุ่น

            โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2539 รับนักเรียนที่สนใจระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 50 คน และ มัธยมตอนปลาย 50 คน โดยการสนับสนุนมูลนิธิมายา โคตะมี ได้ส่งอาสาสมัครช่วยสอนภาษาญี่ปุ่นและครูช่วยสอนภาษาญี่ปุ่น จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

            ในปี 2539 มูลนิธิมายาโคตะมี ได้ส่งอาจารย์ ทาดาชิ มิมะ อาสาสมัครชาวญี่ปุ่น มาช่วยสอนและทยอยส่งมาเพิ่มอีก 2 คน คือ อาจารย์โมเตกิ และ อาจารย์ชากุกาวา รวมทั้งอาจารย์ชนิษา ประสิทธิกุล จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี เพื่อจัดการเรียนการ สอนให้กับนักเรียนกลุ่มแรกให้มีคุณภาพและในปี 2540 มูลนิธิริโชเกียว ได้สนับสนุนส่งเสริมจัดทัศนศึกษา ดูงานประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ประกอบด้วย อาจารย์ใสว ครองยุทธ หัวหน้าหมวดวิชาภาษาต่างประเทศ เด็กชายพัฒนพงษ์ ดำพะธิก และเด็กหญิงเศวตาภรณ์ ปทุมบาล นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปทัศนศึกษาดูงานและการจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่โรงเรียนโอบิรินไฮสลูล กรุงโตเกียว

            ด้วยบทบาทและความสำคัญของโครงการสอนภาษาประเทศที่โดดเด่น ทางโรงเรียนได้ประสานงานกับ สโมสรโรตารี่อุบลราชธานี เพื่อจัดโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนไทย ญี่ปุ่นและแคนาดา ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ 2 คน คือ นางสาวไซมอนด์ ไวท์เอท และ น.ส.โอ โกอิไม เข้าเรียนที่โรงเรียนวิจิตรา เป็นเวลา 1 ปี และมี น.ส.ธนิดา วัชรินทร์กร นักเรียนชั้น ม.5 โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิริโซเกียว ได้ไปศึกษาอบรมโครงการ ณ ประเทศญี่ปุ่นเวลา 1 ปี

            ในปี 2543 มีการพัฒนาครูไทยเพื่อสอนภาษาญี่ปุ่นโดย อ.จิระภา สินธุประสิทธิ์ ได้รับการศึกษาอบรมภาษาญี่ปุ่นที่ศูนย์ภาษาญี่ปุ่นกรุงเทพมหานคร และได้ไปศึกษาดูงานด้านการสอนที่โรงเรียนโอตานิ และ มหาวิทยาลัยเมจิโอ ที่เมืองโอซาก้า และทางโรงเรียนได้รับย้าย อ.สุภิญญา รู้ขาย มาสอนภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมี อ.นากาโน่ คาชิอิโร่ มาช่วยกำกับดูแลต่อเนื่อง

            ในปี 2547 มีบุคคลากรปฏิบัติการสอนทั้งครูญี่ปุ่นและครูไทย คือ อ.จิระภา สินธุประสิทธิ์ อ.สุภิญญา รู้ขาย, อ.ไสว ครองยุทธ, อ.เอสซูเกะ ทากามูระ และ อ.ทาคาฮิโร่อิโต จัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้านภาษาต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ

            จากการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน ส่งผลให้ โรงเรียนวิจิตราพิทยา มีความโดดเด่นด้านการพัฒนาผู้เรียนทุกระดับ โดยเฉพาะการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นซึ่งมี บุคคลากร ครูอาจารย์ นักเรียน ประสบความสำเร็จเป็นแบบอย่างที่ดีระดับประเทศ ดังนี้ น.ส.ธนิดา วัชรินท์กร นักเรียนโครงการแลกเปลี่ยนได้ศึกษาอบรม ณ ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 1 ปี ปัจจุบันศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น.ส.พรสวรรค์ คำดู น.ส.วิริยะดา โพธิ์ดอก น.ส.อมรรัตน์ เทพพิทักษ์ น.ส.วีนัส ธิศาเวช นายพัฒนา พิมพ์รัตน์ และนายนพคุณ สุรมิตร ซึ่งกลุ่มนักเรียนดังกล่าวมีความรู้ความสามารถ และผ่านการทดสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นได้ระดับ 3 และ 4 ในปี 2542 ที่ผ่านมา

            ในปี 2547 โรงเรียนวิจิตราพิทยา จัดให้มีโครงการ โรงเรียนพี่น้องมิตรภาพ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อจัดการศึกษาและแลกเปลี่ยนนักเรียนทั้งสองประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสโมสร และอาสาสมัคร อาจารย์ จากประเทศญี่ปุ่น นับเป็นการพัฒนาการศึกษา และความร่วมมือระหว่างประเทศ

            ในระหว่างวันที่ 2-8 ตุลาคม 2547 ทางมหาวิทยาลัยยามาดะ เมืองอะโอโมริ ประเทศญี่ปุ่นได้ตอบรับร่วมโครงการ โรงเรียนพี่น้องมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการศึกษาวัฒนธรรมและเทคโนโลยี โดยโรงเรียนวิจิตราพิทยา กับมหาวิทยาลัยยามาดะ ซึ่งคณะผู้บริหารครูและนักเรียนกลุ่มแรกที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย นายธีระศักดิ์ แก้วหย่อง ผอ.สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 4 นางพัชรินทร์ สันตินิยม ผอ.โรงเรียนวิจิตราพิทยา คณะครูอาจารย์และกรรมการ สถานศึกษาพร้อมด้วยนักเรียนในไทยที่ร่วมโครงการ 2 คน คือ นางสาวพูนพิไล ทองผา กับนางสาวทัศนีย์ สุรพล ได้เดินทางไปอบรมศึกษาดูงาน 1 สัปดาห์ 

            และเพื่อทำพิธีลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยยามาดะ เมืองอโอโมริ ประเทศญี่ปุ่น สำหรับมหาวิทยาลัยยามาดะ ตั้งอยู่ที่เมืองอโอโมริ เหนือสุดของเกาะฮอนชู ห่างจากกรุงโตเกียว 578 กิโลเมตร คณะจากประเทศไทย เมื่อเดินทางถึงสนามบินนาริตะ เมืองชิบะ ต้องเดินทางไปขึ้นเครื่องบินสายการบินภายในประเทศที่กรุงโตเกียว เพื่อต่อไปที่เมืองอโอโมริและประกอบพิธีลงนามในโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งทางมหาวิทยาลัยยามาดะนำโดย นายทากะ ฟูโกะ คิมูระ ประธานบริหารสูงสุด มหาวิทยาลัยยามาดะและคณะให้การต้อนรับที่สนามบินอโอโมริ

            ในการนี้มีพิธีลงนามระหว่างโรงเรียนวิจิตราพิทยา กับมหาวิทยาลัยยามาดะ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยยามาดะ จัดได้เหมาะสมยิ่งใหญ่และเป็นเกียรติอย่างยิ่ง เริ่มจากพิธีต้อนรับแนะนำผู้บริหารทั้งสองประเทศมีการร้องเพลงชาติไทย เพลงชาติญี่ปุ่น และประกอบพิธีลงนามอย่างเป็นทางการ ฝ่ายไทยมี นางพัชรินทร์ สันตินิยม ฝ่ายญี่ปุ่นมี นายทากะฟูมิ คิมูระ ประธานบริหารสูงสุดมหาวิทยาลัยยามาดะ โดยมี นายธีระศักดิ์ แก้วหย่อง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 และคณะอาจารย์ทั้งสองประเทศ และนักเรียนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยยามาดะอีก 5 พัน ร่วมในพิธีสำคัญครั้งประวัติศาสตร์ด้านการศึกษาระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

            สำหรับคณะผู้บริหาร-ครู-อาจารย์ และนักเรียนตามโครงการฯ ที่หน่วยงานต้นสังกัดอนุญาตให้เดินทางไปราชการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 2-8 ตุลาค 2547 มี 22 ราย คือ 1.นายธีระศักดิ์ แก้วหย่อ ผอ.สพทอบ 4, 2 นางพัชรินทร์ สันตินิยม ผอ.รร.วิจิตราพิทยา, 3. นางเกษสุดา พรเจริญ ผอ.ร.ร.สว่างวีรวงศ์, 4.นายสถิตย์ นีระเสน ผช.ผอ.ร วิจิตราพิทยา, 5.นายกิตติศักดิ์ ปัญญานุภาพ ผช.ผอ.ร .วิจิตราพิทยา 6.นายไสว ครองยุทธ หัวหน้าภาษาต่างประเทศ, 7.นางรัตนา ธาราพิทักษ์ชีวิน 

            8.นางอรทัย ชำนาญเวช, 9. นางจุฬาลักษณ์ ชูกำแพง, 10.น.ส.สุรัตน์ ภาคแก้ว, 11.น.ส.ปรารถนา ถนอมพัน, 12.น.ส.ชลธิชา เจริญรัตน์วัฒน์, 13.น.ส.ชนิดา วัชริ ทร์, 14.นางสาวกาญจนา ภาคปราศรัย , 15. นางสา อัญชนา เฉียงขวา, 16.น.ส.เบญจวรรณ บุปผาพัน, 17.นายจรูญ เจือจันทร์, 18. นายปัญญา แพงเหล่า นักประชาสัมพันธ์, 19.นางเอทซูโกะ ทากามูระ 20.นางดวงกมล พบสุข, 21.น.ส.พูนพิไล ทองผา และ 22.น.ส.ทัศนีย์ สุรพล

            นับเป็นโครงการสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดอุบลราชธานี และพัฒนานักเรียนระหว่างประเทศให้มีความก้าวหน้าต่อเนื่อง ยกระดับคุณภาพผู้เรียนในท้องถิ่นทั้งสองประเทศให้เจริญก้าวหน้า และสร้างความสัมพันธ์มิตรภาพด้านการศึกษาที่ยั่งยืน 

           โรงเรียนวิจิตราพิทยา จากอดีตสู่ปัจจุบันได้สร้างงานการศึกษาผลิตเยาวชนให้มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นคนดีคนเก่ง และเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง

            การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ และผลผลิตที่ดียังเป็นเครื่องวัดคุณภาพของคนจนมีกิจกรรมดีเด่นหลากหลาย ได้รับการยกย่องชื่นชมจากหน่วยงานสถานศึกษาทั่วประเทศ และสนองตอบเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 อย่างแท้จริง.

  • ปัญญา แพงเหล่า...รายงาน

            16 ตุลาคม 2547