เล่าเรื่อง เมืองอุบล EP.15 การศึกษาไร้พรมแดน : ไทยลาว ร่วมพัฒนาการศึกษา

   เมื่อ : 12 ก.พ. 2567

            ท่านบัวแก้ว สุดทิจัก ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูปากเซ และรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแห่งชาติ จำปาศักดิ์ สปป.ลาว จบปริญญาโท คนแรก จากสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี ปี 2543-2546

            ประวัติ ท้าวบัวแก้ว สุดทิจัก เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 1949 (2492) ที่บ้านแสนเหนือ เมืองโขง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นบุตรของท้าวคำหว้า สุดทิจัก กับนางคำภู สุดทิจัก สมรสกับนางน้อง มีบุตรด้วยกัน 4 คน หญิง 1 คน ชาย 3 คน ชนชั้นกำเนิดชาวนา ศาสนาพุทธ 

            ประวัติการศึกษา ปี 1956-1962 เข้าโรงเรียนประถมศึกษาที่หมวดโรงเรียนโขง แขวงจำปาสัก ปี 1963-1969 เข้าโรงเรียนมัธยมตอนต้น มัธยมตอนปลายที่วิทยาลัยเวียงจันทร์ (Lyceedevientiane ) กำแพงนครเวียงจันทน์ ปี 1970-1973 เป็นครูสอนรับจ้าง ภาษาฝรั่งเศส ชั้นเตรียมมัธยมและมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนเอกชน “บริบูรณ์” ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 19,200 กีบ (3,200 บาท) ในวันที่ 16 มีนาคม 1970 ถูกทหารค่ายจีนายโม้ จับกุมไปขังคุกมืด “55” เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ในข้อหาเป็น สายสืบของฝ่ายประเทศลาว (คอมมิวนิสต์ลาว) ปี 1974-1975 เข้าศึกษาที่สถาบัน กฎหมายและการปกครองในสาขาเศรษฐศาสตร์การคลัง ได้รับอนุปริญญา ปี 1976-1978 ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยสร้างครูเวียงจันทน์ สาขาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ได้รับปริญญาตรี และในปี 2000-2003 (2543-2546) ศึกษาต่อปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา ที่สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี 

            การรับปริญญา โดยมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้ นายปัญญา แพงเหล่า ประสานงาน และมีนายไพทูรย์ บุญพุทธ (ประธานรุ่น) ซึ่งเป็น ผอ. สพป. อุบลราชธานี เขต 3 เรียนเชิญ นางพรนิภา ลิมปพยอม เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ในโอกาสเดินทางมาตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยนายธีระศักดิ์ แก้วหย่อง ผอ.สพป.อุบลราชธานี เขต 4 และคณะจัดพิธีมอบเสื้อครุยมหาบัณฑิตให้ ท่านบัวแก้ว สุดทิจัก ณ เมืองปากเซ  ทั้งนี้ เนื่องจากท่านบัวแก้ว ไม่สามารถเดินทางเข้ารับพระราชทานปริญญาที่จังหวัดสกลนคร และมีภารกิจจำเป็นบางประการ 

            ประวัติการรับราชการ สภาพรับใช้รัฐการ (การรับราชการ) เมื่อ ปี 1976 บรรจุเป็นรัฐการที่กระทรวง ศึกษาธิการ สังกัด กรมอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัย ปี 1977 ถูกซับซ้อนประจำการที่ โรงเรียนสร้างครู ชั้นกลาง เลขที่ 6 ปากเซ แขวงจำปาสัก (วิทยาลัยครูปากเซ) ปี 1979-1981 หัวหน้าวิชาเลือกบังคับ ปี 1982-1983 หัวหน้าแผนกสังคมศาสตร์ ปี 1984-1986 รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ปี 1986-1996 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ปี 1998-2001 รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2001 ได้รับการแต่งตั้งเป็น ผู้อำนวยการวิทยาลัยครูปากเซ และในปี 2005-2010 ได้รับแต่งตั้งให้เป็น รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยจำปาสัก จนเกษียณอายุราชการ ในปี 2010 (2553)

            การศึกษาอบรมภายในประเทศ ปี 1984 อบรมการคุ้มครองการศึกษา รุ่นที่ 2 ที่นครเวียงจันทน์ ปี 1995 อบรมผู้บริหารการศึกษา ที่ศูนย์พัฒนาครู ที่นครเวียงจันทน์ ปี 1996 อบรมครูสอนวิทยาศาสตร์ ที่ศูนย์พัฒนาครู ที่นครเวียงจันทน์ ปี 1997 อบรมวิธีศิษย์สอน คือ ผู้เรียนศูนย์กลาง ที่นครเวียงจันทน์ 

            การศึกษาอบรมที่ต่างประเทศ ปี 1995 อบรมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ที่ประเทศมาเลเซีย ปี 1996 อบรมการสร้างหลักสูตรสร้างครูมัธยมตอนต้น ระบบ 11 3 ที่สถาบันราชภัฏอุดรธานี ปี 1997 อบรมวิธีสอน วิชาพัฒนาชุมชน ที่สถาบันราชภัฏเลย ประเทศไทย ผลงานดีเด่น (การย้องยอ) ประเภทต่างๆ ได้รับเหรียญชัยแรงงานชั้น 3 เหรียญตราแรงงาน 2 เหรียญ เหรียญตรา 5 ปี ใบต้องยอรัฐบาล 2 ใบ ใบย้องยอขั้นแขวงและแผนกการ 12 ใบรางวัลเป็นวัตถุหลายครั้ง 

            ผลงานด้านการเขียน ปี 1980-1982 ในระยะนี้ ทั่วแขวงจำปาสักและแขวงอื่นๆ ขาดแคลนแบบเรียนวิชาภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ได้รับมอบหมายจากแผนก พิมพ์ออกรับใช้ภายในแขวงจำปาสัก แต่บรรดาแขวงภาคใต้ได้นำเอาไปใช้เหมือนกัน ถึงปี 1997 ความมุ่งหวัง เรียนปริญญาโทแล้วสนใจอยากศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก และจะพยายามสร้างตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ของ สปป.ลาว ก่อนวันเกษียณ ปี 2010 ทักษะด้านภาษา มีความรู้และทักษะในการพูด ฟัง อ่าน เขียน 4 ภาษา คือ ภาษาลาว ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ที่สำคัญในการเรียนปริญญาโทที่ประเทศไทย อ่านเขียนพูดภาษาไทย การสร้างแบบสอบถามและงานวิจัยต้องจัดทำสองภาษา คือ ภาษาไทย และลาว นับเป็นนักศึกษาจาก สปป.ลาว คนแรก ที่เรียนจบปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา จากสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี ประเทศไทย 

            ในนามนักศึกษาครุศาสตร์มหาบัณฑิต (ค.ม. 3.2) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ขอแสดงความยินดีกับ ท่านบัวแก้ว สุดทิจัก และ ท่านถาวร พรมมะไลลุน หัวหน้าแผนกศึกษา แขวงเซกอง และหลังจบการศึกษา ระดับปริญญาโท ท่านถาวร ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าแขวงเซกอง ในปี พ.ศ. 2553

            โดยสรุป นักบริหารการศึกษา สปป. ลาวทั้งสองท่าน เรียนจบปริญญาโท การบริหารการศึกษาจากประเทศไทย ก่อนจะเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยนในปี 2557 นับเป็นความร่วมมือด้านการศึกษาอีกทางหนึ่ง และส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป.

        …………..

  • ปัญญา แพงเหล่า/รายงาน