วิธีการชมฝนดาวตกเจมินิดส์ 14-15 ธันวาคม 2566
- หาเปิดที่เปิดโล่งปราศจากสิ่งกรีดขวางภาคพื้นดินเช่นต้นไม้ ตึกอาคารบ้านเรือน ห่างไกลแสงสีไฟบ้านเรือนถนน คืนนี้ขึ้น 2 ค่ำ แสงจันทร์ไม่เป็นอุปสรรคเหมาะต่อการดูดาว หาไฟฉายหรือแสงไฟโทรศัพท์ส่องดูทางเดินหรือที่ชมเพื่อระวังสัตว์มีพิษ
- เวลา 20.00 น.เริ่มเห็นดาวคาสเตอร์ ซึ่งเป็นบริเวณศูนย์กลางหรือจุดกระจายฝนดาวตกพ้นขอบฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ เวลา 20.30 น. ดาวคาสเตอร์จะอยู่สูงจากขอบฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมุมเงย 15 องศา
3. ดาวคาสเตอร์เป็นดาวสว่างดวงหนึ่งอยู่เหนือดาวพอลลักซ์ ในกลุ่มดาวคนคู่(เจมินี)หรือคนไทนมองเห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียกหมู่ดาวนี้ว่าดาวโลงและกาเกาะปากโลง
4. เริ่ม 20.30 น.ศูนย์กลางจุดกระจายฝนดาวตกจะพ้นขอบฟ้ามา 15 องศาเริ่มมองเห็นฝนดาวตกพรุ่งออกมาจากจุดนี้สาดกระจายไปทุกทิศทุกทาง เราจึงมองเห็นดาวตกทุกทิศทุกทาง
5. ศูนย์กลางตรงดาวคาสเตอร์จะสูงขึ้นไปเรื่อย ชั่วโมงละ 15 องศา จนเช้ามืดเข้าสู่วันที่ 15 องศา ศูนย์กลางจุดกระจายจะคล้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
6. เวลาหลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป เข้าสู่วันที่ 15 ธันวาคม 2566 เป็นช่วงเวลาที่คาดการณ์ว่าจะมีฝนดาวตกมากประมาณ 120-150 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางตรงบริเวณดาวคาสเตอร์จะอยู่กลางท้องฟ้าคล้อยไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อย เป็นช่วงเวลาที่เหมาะต่อการชมฝนดาวตกในค่ำคืนนี้
7. นอกจากจะเห็นฝนดาวตกแล้วยังเห็นดาวเคราะห์และวัตถุท้องฟ้าอื่นๆอีกเช่น
ตอนหัวค่ำ
ทิศตะวันออก เห็นกระจุกดาวลูกไก่ ดาวไถ ดาวเต่า กระจุกดาวลูกไก่ เนบิวลาสว่างใหญ่ ดาวโจร สามเหลี่ยมหน้าหนาว หกเหลี่ยมหน้าหนาว
กลางท้องฟ้า เห็นดาวพฤหัสบดี
ทิศตะวันตก ดาวเสาร์ และสามเหลี่ยมหน้าร้อน
ทิศเหนือ กลุ่มดาวค้างคาวและดาราจักรแอนโดรเมดรา
ตอนเช้ามืด ดาวศุกร์ ขึ้นมาทางทิศตะวันออก สามเหลี่ยมฤดูใบไม้ผลิ