เล่าเรื่อง เมืองอุบล EP.4 : ตามรอยพ่อ…ถึงอุบลราชธานี ดินแดนเชลยศึกสงครามโลกครั้งที่ 2
ณ บ้านนายสุวิชช คูณผล เลขที่ 9 ถนนพิชิตรังสรรค์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 นายเดวิด ซาร์ติน (Mr.David Sartin) และ (Mr.Ray Withnall) ทายาทเชลยศึกในสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความประสงค์จะตามรอยพ่อ และขอรับทราบเรื่องราวเกี่ยวกับ อนุสาวรีย์แห่งความดีที่เกี่ยวข้องกับเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพญี่ปุ่นควบคุมเชลยศึกที่อุบลราชธานี
ทั้งนี้ มิสเตอร์เดวิท ได้เดินทางมากจากประเทศอังกฤษเพื่อตามรอยประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งคุณพ่อ คือ มิสเตอร์โรเบิร์ด ตกเป็นเชลยศึกทหารญี่ปุ่นเมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งทหารเชลยศึกเหล่านี้มาถึงอุบลราชธานีโดยรถไฟ และถูกควบคุมไว้ที่แคมป์ บ้านหนองไผ่ ถนนชยางกูร กม.10 ทางไปอำนาจเจริญ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี
โดย (Mr.Ray Withnall) และ(Mr.David Sartin) เป็นทายาทเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงขอเข้าพบนายสุวิชช คูณผล ประธานมูลนิธิเจ้าคำผง เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการสืบค้นประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอนุสาวรีย์แห่งความดี โดยมี ผศ.เกษม บุญรมย์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี นายนิกร วีสเพ็ญ เลขานุการมูลนิธิเจ้าคำผง นางอรทัย วัฒนสมศรี และนายสมชาติ เบญจถาวรอนันต์ ร่วมให้ข้อมูลและบันทึกภาพ เพื่อประกอบในการสืบค้นต่อไป
ความเป็นมา จากเหตุการณ์สงครามมหาเอเชียบูรพา ในปี พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) ญี่ปุ่นได้ส่งทหารเข้าสู่ประเทศไทย และจับทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เป็นจำนวนมาก จังหวัดอุบลราชธานีเป็นสถานที่หนึ่งที่ญี่ปุ่นใช้เป็นที่กักกันเชลยศึก ซึ่งประกอบไปด้วยชาวออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ทหารเหล่านี้ต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส เป็นที่เวทนาของชาวอุบลที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก ด้วยความเป็นคนมีจิตเมตตาสงสาร จึงได้พากันนำเอาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม มาให้เชลยศึกเหล่านี้เพื่อเป็นทาน แต่ก็ได้รับการขัดขวางจากทหารญี่ปุ่น และถึงขั้นทำร้ายเอา แต่ชาวอุบลก็ยังแอบนำเอาอาหารและเครื่องใช้ไปให้เชลยศึกเหล่านี้ด้วยความเมตตา อย่างไม่เกรงกลัวต่อภัยอันตรายใดๆ ทั้งสิ้น
ด้วยความดีดังกล่าว ภายหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาสิ้นสุดลง เมื่อปี พ.ศ.2486 (ค.ศ.1945) ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งเป็นเชลยศึกเหล่านี้ ได้ถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ และได้ระลึกถึงคุณความดีของชาวอุบลราชธานี ที่มีจิตเมตตากรุณา จึงได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ ขึ้น ณ ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นที่ระลึกว่า ครั้งหนึ่งในชีวิตของพวกเขา ได้เคยเป็นเชลยศึกอยู่ที่นี่ และได้รับความเมตตากรุณาจากชาวอุบลราชธานี จนทำให้มีกำลังใจที่จะต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตรอดต่อไป และขนานนามอนุสาวรีย์แห่งนี้ว่า “อนุสาวรีย์แห่งความดี”
- ปัญญา แพงเหล่า / รายงาน
บันทึกจาก นายสุวิชช คูณผล 2562