”SP.2 ฆาตกรรมหมู่คนอาชีวะตายทั้งเป็นกว่าร้อยราย”

   เมื่อ : 05 พ.ย. 2566

-วันที่ 3 พ.ย. 66 คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอาชีวศึกษา(อ.ก.ค.ศ.สอศ.)ได้มีการประชุมลงมติพิจารณาโทษความผิดของข้าราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาตามที่ปปช. มีหนังสือชี้มูลความผิดต่อผู้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาทุจริตตามโครงการ SP.2 ซึ่งถือเป็นมหากาพย์ของคดีการทุจริตในวงราชการซึ่งมีการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อการศึกษาในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภายใต้โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 หรือไทยเข้มแข็ง SP.2 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 ต่อมาปปช. 

 

โดยได้ติดตามตรวจสอบการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการศึกษาโครงการดังกล่าวที่ส่อไปในทางทุจริตเนื่องจากการจัดซื้อราคาแพงกว่าความเป็นจริงหลายเท่าตัวโดยโครงการดังกล่าวเป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่ส่วนกลางคือที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นการจัดซื้อหลายรายการและงบประมาณที่สูงจึงจำเป็นต้องใช้บุคลากรจำนวนมากเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในขณะนั้นจึงได้ออกคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรจากสถานศึกษาต่างๆทั่วประเทศเพื่อมาทำหน้าที่ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวซึ่งบุคลากรที่เป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเมื่อมีคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงก็ได้พร้อมกันมาปฏิบัติหน้าที่โดยความภาคภูมิใจเพราะคิดว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งอาจจะทำให้ตัวเองมีคุณความดีในการทำหน้าที่ราชการในอนาคตโดยไม่ได้มีความคิดหรือวิตกกังวลว่าจะมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะมีการทุจริตเกิดขึ้นแต่อย่างใด แต่ในเวลาต่อมาผู้ที่มาปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยสุจริตกลับได้รับการกล่าวโทษจากปปช.ว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมสนับสนุนมีกระทำความผิดทุจริตต่อการจัดซื้อครุภัณฑ์ในโครงการดังกล่าวซึ่งต่อมาปปช.มีหนังสือสั่งการถึงสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้ดำเนินการลงโทษวินัยร้ายแรงกับบุคลากรชุดดังกล่าวกว่า 100 รายโดยในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 อ.ก.ค.ศ.สอศ.ได้ดำเนินการประชุมและมีมติลงโทษต่อบุคคลตามที่ปปช.ชี้มูลความผิดคือพิจารณาโทษปลดออกจากราชการ  

ประเด็นดังกล่าวนายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธานเครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย(ค.ร.อ.ท.)ได้กล่าวถึงการลงโทษแก่ข้าราชการที่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาโดยสุจริตครั้งนี้คือการประหารชีวิตแบบยกครัวถือว่าเป็นการการตายทั้งเป็นในชีวิตราชการ ที่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยสุจริตและเชื่อมั่นว่าผู้บังคับบัญชาสั่งมาปฏิบัติโดยชอบด้วยกฏหมาย ในกรณีดังกล่าว และไม่ได้รู้ได้เห็นเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าวจะมีการเกิดขึ้น ต่อมาปปช.ได้แจ้งข้อกล่าวหาและให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาทุกคนได้ชี้แจงไปยังปปช .โดยทุกคนได้ชี้แจงฯว่าปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยไม่ได้มีส่วนรู้เห็นหรือมีความเกี่ยวข้องกับการทุจริตแต่อย่างใดแต่เพราะเหตุใดปปช.จึงได้ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงโดยไม่มีการแยกกลุ่มของผู้ปฏิบัติว่าใครคือผู้สั่งการใครคือผู้ที่ถูกแอบอ้างใครคือผู้ที่มาทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตซึ่งมันเป็นผลสะท้อนที่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบและได้รับความเป็นธรรมจากการลงโทษดังกล่าว จึงต้องหาวิธีการที่จะเรียกร้องความเป็นธรรมเพื่อให้ปปช. ได้ทบทวนมติความผิดดังกล่าวโดยต้องคัดแยกลดโทษหรือยกเว้นโทษผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและให้ดำเนินการลงโทษสถานหนักต่อกลุ่มผู้ที่ร่วมมือวางแผนกระทำการทุจริตในครั้งนี้ให้ได้

 

ประธาน ค.ร.อ.ท.ได้กล่าวเพิ่มเติมในเรื่องนี้ว่า ค.ร.อ.ท.จะทำหน้าให้กับพี่น้องชาวอาชีวะที่ต่อสู้ร้องขอความเป็นธรรมให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่โดย บริสุทธิเพื่อให้ปปช. ได้ทบทวนมติดังกล่าวและหาผู้กระทำผิดที่แท้จริงนำมาลงโทษ 

 

โดยตนจะไปยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมเพื่อให้ปปช. ได้ทบทวนมติการดำเนินการต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตสภาผู้แทนราษฎร ต่อสมาชิกวุฒิสภาและต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อขอความเป็นธรรมกับผู้ปฏิบัติงานที่ตั้งใจทำงานด้วยความบริสุทธิ์ก่อนที่จะปล่อยให้มีการดำเนินการความผิดทางอาญาและแพ่งต่อไป