จ.อุบลฯ จัดกิจกรรมปลูกผักสวนครัว น้อมนำแนวพระราชดำริกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร

   เมื่อ : 21 ต.ค. 2566

            20 ตุลาคม 2566 เวลา 16.00 น. ที่ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุรีรัตน์ กอเจริญยศ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดอุบลราชธานี นางทรงลักษณ์ วรภัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นายสำเนียง สิมมาวัน ท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี นายประวีณ เขียวขำ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี  ดร.อัญชนา มีชัย ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี นายธงชัย ครุฑแสน ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นางสาววรางคณา อินทรเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางสาวอุทัย โคตรตะ ปลัดอาวุโส อำเมืองอุบลราชธานี นางลำเนา รัตโน หัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดอุบลราชธานีพัฒนาการอำเภอ ทั้ง 25 อำเภอ ตลอดจนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัด ร่วมจัดกิจกรรม การน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ” ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2567 กิจกรรม “ผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง” และกิจกรรม “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

            กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในระดับครัวเรือน พร้อมทั้งน้อมนําแนวพระราชดําริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการดําเนินงาน 6 กระบวนงาน ได้แก่  1) ผู้นําต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง 2) ผู้นําต้องทำก่อน 3) นักพัฒนา 3 ประสาน กลไกการขับเคลื่อน  4) ทุกครัวเรือนคือคลังอาหาร ทุกหมู่บ้านคือศูนย์แบ่งปัน 5) ทักษะชีวิตวิถีใหม่เยาวชนไทยสร้างอาหารเป็น  6) ถอดรหัสการพัฒนา : ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองในการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่  1 เมษายน 2563 เป็นต้นมา ด้วยการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือนทั่วประเทศ เน้นการพึ่งตนเองและความสามัคคีของคนในชุมชน พร้อมทั้งต่อยอดและขยายผลอย่างต่อเนื่องให้เห็นผลเป็นรูปธรรม 

          และในปี พ.ศ. 2567 ได้มีการเพิ่มเติมเป้าหมายการดำเนินการของครัวเรือนปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 30 ชนิด ให้เต็มพื้นที่ครบทุกครัวเรือน ตามข้อมูลมาตรฐาน THAI QM ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งมีการรณรงค์ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรม “ทางนี้มีผลผู้คนรักกัน” “บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง และกระบวนงาน “ทุกครัวเรือนคือคลังอาหารทุกหมู่บ้านคือศูนย์แบ่งปัน” กระบวนงาน “ทักษะชีวิตใหม่เยาวชนไทยสร้างอาหารเป็น” ให้เต็มพื้นที่ 25 อำเภอ โดยจังหวัดอุบลราชธานี มีครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร  ตามระบบ Plant for good report ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 13.00 น .

           - จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักทั้งสิ้น 390436 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 102.67 (เทียบเกณฑ์ จปฐ. ปี2565)

           - จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักทั้งสิ้น 390436 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100.02  (เทียบข้อมูล THAI QM)       

           - ผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง จำนวน 271 คน ผู้นำต้องทำก่อน จำนวน 9950 คน นักพัฒนา 3 ประสาน จำนวน 13571 คน ครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์และทำประมง จำนวน 132701 ครัวเรือน

          - ทางนี้มีผลผู้คนรักกันจำนวน 4736 แห่ง จำนวนครัวเรือน 91509 ครัวเรือน

         - ศูนย์แบ่งปันเมล็ดพันธ์และต้นกล้า 2936 แห่ง มีเล็ดพันธ์ 29351 ชนิด

          - จำนวนครัวเรือนที่ลดรายจ่าย 271811 ครัวเรือน เฉลี่ยวันละ 2093 บาท/วัน

          - จำนวนครัวเรือนที่เพิ่มรายได้ 366848 ครัวเรือน เฉลี่ย 2713 บาท/วัน

          วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกกรมครั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดและขยายผลการดําเนินงาน โครงการปลูกผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับ หมู่บ้าน/ชุมชน ให้มีความยั่งยืน และเพื่อสร้างกระแสการปลูกผักสวนครัวอย่างต่อเนื่อง เป็นตัวอย่างแก่ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี โดยกิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วย

      - การปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน

       - การมอบต้นกล้า/เมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว จากศูนย์แบ่งปันเมล็ด พันธุ์และต้นกล้าหรือธนาคารเมล็ดพันธุ์ผักในแต่ละอําเภอ

       - การจัดทำขยะเปียกลดโลกร้อน โดยสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี

          สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี นำโดย นายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นางสาววรางคณา อินทรเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางสาววิจิตร หลงชิน ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นายธงชัย ครุฑแสน ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นายคำพอง วรรณวัติ ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน พัฒนาการอำเภอทั้ง 25 อำเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชนและเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี เข้าร่วมกิจกรรมฯ ซึ่งประกอบด้วย การทำถังขยะเปียกรักษ์โลก การปลูกผัก และไม้ผล 

          นอกจากนั้นยังได้ดำเนินการมอบเมล็ดพันธุ์ผัก และร่วมกันปลูกผักสวนครัวจำนวน 30 ชนิด  ได้แก่ 1.แมงลัก 2. พริก 3. มะเขือเปาะ 4. มะละกอ 5. ชีฝรั่ง 6. สะระแหน่ 7. กระเพรา8. มะเขือเทศ 9. โหระพา 10. มะละกอ 11. ชะพลู 12. แพรว 13. แคบ้าน  14. ผักขะแยง 15. ข่า 16. ตะไคร้ 17. มะกรูด 18. โหระพา 20. ผักชีหอม 21. คะน้า 22. ผักชีหอม  23. ถั่วฝักยาว 24. ผักกาดเขียว 25. ผักกาดขาว 26. ผักบุ้ง 27. มะเขือพวง 28. ถั่วพลู 29. กาดดูกวางตุ้ง  30. มะนาว โดยได้รับการสนับสนุนต้นกล้าและเมล็ดพันธ์จากทั้ง 25 อำเภอ และภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ ครั้งนี้ จำนวน  10 หน่วยงาน ประกอบด้วย ที่ทำการปกครองจังหวัดฯ สำนักงานเกษตรจังหวัดฯ สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดฯ ที่ทำการปกครองอำเภอเมืองอุบลราชธานี สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดฯ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดอุบลราชธานี และหัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนกอทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดอุบลราชธานี

            ภายในงาน นายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี ยังได้มอบต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ผักจากศูนย์แบ่งปันต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ให้แก่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และชมรมพัฒนาการอำเภอทั้ง 25 อำเภอมอบมอบต้นกล้าเมล็ดพันธุ์ผักจากศูนย์แบ่งปันต้นกล้าเมล็ดพันธ์ให้แก่ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อสนับสนุนกิจกรรมปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร กิจกรรม “ผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง” และกิจกรรม “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ในครั้งนี้ 

            โอกาสนี้ นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้เปิดเผยว่า ”ในวันนี้ ถือเป็นโอกาสดี ที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนความต่อเนื่องในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร อย่างยั่งยืน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับ กลุ่มอาชีพ เกิดกระแสการปลูกผักสวนครัวอย่างต่อเนื่องในอีกหลากหลายพื้นที่ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงต่อไป”