เล่าเรื่อง เมืองอุบล : นายเติม วิภาคย์พจนกิจ (สิงหัษฐิต) ปราชญ์เมืองอุบล

   เมื่อ : 09 ก.ค. 2568

           ตระกูลสิงหัษฐิต สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยา แห่งเมืองหนองบัวลุ่มภู จึงนับเนื่องอยู่กับสายสัมพันธ์ เครือญาติกับตระกูลท้าวเพียของหัวเมืองต่างๆ เป็นจำนวนมากในบริเวณแม่น้ำชี แม่น้ำมูลตอนล่าง และรวมทั้ง ตระกูลเจ้าท้าวเพียของลาวตอนล่างโดยเฉพาะสายตระกูลของเจ้านครจำปาศักดิ์ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว)

           นายเติม วิภาคย์พจนกิจ สกุลเดิมคือ สิงหัษฐิต เป็นบุตรของอำมาตย์ตรีพระวิภาคย์พจนกิจ (เล็ก สิงหัษฐิต) กับนาง(คูณ พรหมวงศานนท์) นายเติมเกิดที่คุ้มวัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน คือ

          1. นายเผดิม สิงหัษฐิต สมรสกับ นางละมุน สิงหัษฐิต (ทันตานนนท์)

          2. นายเติม วิภาคย์พจนกิจ สมรสกับ นางประยงค์ (พรหมศิริ)

          3. นางแถมทอง สิงหัษฐิต สมรสกับ ขุนวรวาทพิสุทธิ์ (สุข พันธ์เพ็ง)

          4. นายพิบูลย์ สิงหัษฐิต สมรสกับ นางรัชนี สิงหัษฐิต (ชัยผดุง)

          5. นายขจร สิงหัษฐิต สมรสกับ นางมะลิวัลย์ สิงหัษฐิต (วิริวัฒน์)

  • การศึกษา 

           จบมัธยมปีที่ 6 ปี พ.ศ. 2465 ที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช และได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศเวียดนามที่เมืองไซง่อน และที่วิทยาลัยลิเซอัลแบร์ท์ชาร์โรท์ เมืองฮานอย เมื่อปี พ.ศ. 2468 กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่ามัธยมบริบูรณ์ชาย ม.8 พร้อมทั้งสอบเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอินโดจีน (คณะวิศวกรรมศาสตร์) เมื่อ พ.ศ. 2472-2475 ได้ Diploma ในระหว่างเรียนวิศวะฯอยู่นั้นก็ได้เรียนการพาณิชย์พิเศษไปด้วย ได้เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2475

  • ด้านครอบครัว/การสมรส 

           สมรสกับ น.ส.ประยงค์ พรหมศิริ บุตรีขุนบำรุงราชหิรัญ (ปุ่น พรหมศิริ) อดีตคลังจังหวัดเลย มีบุตรธิดา 7 คน ดังนี้

1. นายประกริต วิภาคย์พจนกิจ

2. นายประหยัด วิภาคย์พจนกิจ

3. นางเต็มดวง ทองหมื่น สมรสกับ พ.ต.สมหมาย ทองหมื่น

4. นายประจง วิภาคย์พจนกิจ

5. นายประณต วิภาคย์พจนกิจ สมรสกับ นางลัดดา วิภาคย์พจนกิจ (บุตรแขก)

6. นายประสม วิภาคย์พจนกิจ

7. นางธิติกาญน์ บุญประเสริฐ สมรสกับ นายถวัลย์ บุญประเสริฐ 

  • หน้าที่การงาน

1. ทำงานที่กองกำกับการบินพลเรือน กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม โอนมาอยู่กองวิศวกรมรมโยธา สังกัดกรมโยธา เทศบาล กระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ไปทำการสำรวจทางสายอุบลฯ - มุกดาหาร - นครพนม (275 กม.) ในตำแหน่งนายตรวจทางหลวง

2. พ.ศ. 2477 พนักงานสำรวจทางสายจากขอนแก่น - ชุมแพ - วังสะพุง - เลย - เชียงคาน (251 กม.) ไปแก้ทาง สายอุดร - หนองบัวลำภู (60 กม.)

3. พ.ศ. 2478 เป็นผู้ช่วยแม่กองสำรวจทางจากดอนเมือง - สระบุรี - ลพบุรี - โคกสำโรง - ชัยบาดาล - วิเชียรบุรี (190 กม.)

4. พ.ศ. 2479 เป็นแม่กองสำรวจทางสายจากอุดร - สกลนคร - นครพนม (240 กม.) และสำรวจต่อจากสกลนคร - กาฬสินธุ์ - มหาสารคาม (162 กม.) และต่อจากอำเภอยางตลาด - ขอนแก่น (60 กม.)

5. พ.ศ. 2480 ย้ายมากองทางภาคอีสานที่ขอนแก่น เป็นผู้ช่วยแขวงการทางชัยภูมิ วางแนวก่อสร้างและคุมงาน ก่อสร้างจากบัวใหญ่ - ชัยภูมิ (42 กม.) และแก้แนวทางสายจากยโสธร - อุบลฯ บางตอน พร้อมด้วยวางหมุด ก่อสร้างให้ผู้รับเหมาทำงานดิน (120 กม.)

6. พ.ศ. 2481 ย้ายจากแขวงการทางชัยภูมิไปรักษาการแทนแขวงการทางขอนแก่น (สมัย ม.จ. วิเศษศักดิ์ ชยางกูร เป็นแขวงฯ) ทำการก่อสร้างจากขอนแก่น - ชุมแพ (80 กม.)

7. พ.ศ. 2482 ย้ายไปประจำกองทางภาคอีสานที่ขอนแก่น (สมัยจ้าวกาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่เป็นนายช่างภาค)

8. พ.ศ. 2483 มีคำสั่งให้ไปทำงานทางลำลองจากนครราชสีมา - บ้านท่าเยี่ย (เชิงเขาพังเหอย 118 กม.) วางหมุด ก่อสร้างตามแนวสำรวจเดิมจากนครราชสีมาถึงที่ต่อเขตภาคกลาง เขาพังเหอย (ดงพญาเย็น) และคุมงานก่อสร้าง จากตอนหนองบัวโคก - บ้านเพชร - โคกรังแร้ง - วังมน - เขาพังเหอย (พักข้างตาย) งานดินเกือบสำเร็จแล้วเกิด สงครามอินโดจีน

9. พ.ศ. 2484 ช่วยงานแขวงฯ สุรินทร์ ทำทางเร่งด่วนอละลำลองให้ทางราชการทหารไปช่องจอม - สำโรง (แดน เขมร) เป็นตัวแทนแขวงไปรับมอบดินแดนจังหวัดพิบูลสงครามพร้อมกับข้าราชการแผนกอื่นแล้วกลับไปประจำ แขวงการทางชุมแพ

10. พ.ศ. 2485 วางแนวก่อสร้างจาก กม. 100 - 208 (จังหวัดเลย) ตามหมุดหลักฐานเดิม เสร็จแล้วแต่งตั้งให้เป็น หมวดการทางป่ากลาย (สำนักงานที่จังหวัดเลย) คุมงานก่อสร้างและงานบำรุง (38 กม.) สายเลย - ท่าลี่ ท่าลี่ - ปากลาย (120 กม). เลย - เชียงคาน (51 กม.) เลยด่านซ้าย (80 กม.ต่อเขตสายเพชรบูรณ์) และสายเลย - วังวะพุง (25 กม.)

11. พ.ศ. 2493 ย้ายไปประจำแขวงการทางชุมแพ และทางการขอยืมตัวไปสำรวจบนภูกระดึงให้บริษัทเดินอากาศ ไทย รันเวย์ยาว 1200 เมตร กว้าง 40 เมตร พร้อมด้วยแนวและรูปตัด สำรวจบริเวณภูกระดึงด้านตะวันออก เหลี่ยมผาหมากดูกจนถึงถ้ำสอเนื้อที่ประมาณ 100 ตารางกิโลเมตร และขึ้นๆ ลงๆ ภูกระดึง (ครั้งแรก พ.ศ. 2477 พ.ศ. 2501) รวม 22 ครั้ง

12. พ.ศ. 2495 – 2498 เป็นหมวดการทางอิสระขึ้นตรงกับหมวดการทางขอนแก่น (ตั้งที่ทำการชุมแพ เพราะแขวงชุมแพย้ายไปที่จังหวัดเลย) สำรวจและคุมงานก่อสร้างเสร็จจากชุมแพ - ภูเขียว (20 กม.)

13. พ.ศ. 2499 ย้ายไปเป็นหมวดอิสระที่อำเภอวังสะพุง ควบคุมเครื่องจักรทำงานจากสามแยกไปอุดร พร้อมสำรวจหาแนวใหม่ไปต่อแดนที่ กม. 93 (ภูผาวัง) ยังไม่เสร็จ

14. พ.ศ. 2500 ทำหน้าที่เวรคืนที่ดิน และกรรมการประนอม สร้างทางสายจากอุดร - หนองบัวภู - เลย

15. พ.ศ. 2502 เป็นหมวดการทางที่ชุมแพสำรวจแขงการทางจากภูเขียว - อ.แก่งค้อ และงานก่อสร้างจากภูเขียว - เกษตรสมบูรณ์ 2 สายยาว 50 กม.เศษ

16. พ.ศ. 2503 เป็นอนุกรรมการตรวจค้นหลักฐานคดีเขาพระวิหาร คราวเขมรฟ้องไทยต่อศาลโลก (ไปตรวจกลัก ฐานที่อุบล - ศีรษะเกษ - นครราชสีมา)

17. พ.ศ. 2503 – 2504 ควบคุมงานสร้างสนามบินขอนแก่น สร้างสนามบินหนองคาย และไปช่วยแขวงการทางหนองคายเร่งรัดการเวรคืนที่ดินทางหลวงสายมิตรภาพ (อุดร - หนองคาย)

18. พ.ศ. 2505 - 2506 ไปควบคุมการสร้างสนามบินบ้านนาคูให้ดีกว่าเดิม สำรวจทางจากสี่แยก(กิ่งอำเภอสมเด็จ) อำเภอกุฉินารายณ์ และแยกจากบ้านห้วยผึ้งเข้าไปบ้านนาคู 20 กม.

19. พ.ศ. 2507 คุมงานสร้างสนามบินสกลนคร และก่อสร้างแยกจากทางหลวงเข้าสนามบินอีก 40 กม.

            ครบเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2509 ทางราชการจ้างต่อให้ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม(ลูกจ้างรายวัน) เป็นหัวหน้าสำรวจทางจากอำเภอโพนพิสัย - บึงกาฬ และสำรวจเพื่อลาดยางจากอุดร - หนองบัวลำภู ยังไม่เสร็จ ได้ลาออกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2509

  • ประสบการณ์พิเศษ

            ไปทำงานที่สถานอเมริกัน ในประเทศลาว (USAID/LAOS) แผนกโยธา (Public Works)

            สำรวจทางจากบ้านนาโป่ง (โดยแยกจาก กม. ที่ 68-200 สายที่ 13 ปากเซ - สวรรณเขต) ไปเมือง วาปี - สะพาด - เสมียะ

            สำรวจแหล่งน้ำพุบนเขาที่เมืองฮ่องแจ้งเพื่อต่อท่อแปปจากน้ำพุลงมายังตลาดเมืองแม้วที่ฮ่องแจ้ง

  • ผลงานเขียนหนังสือ

            @ แต่งและเรียบเรียงหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน (เล่ม 1- 2) สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดพิมพ์ พ.ศ. 2513

            @ แต่งและเรียบเรียงหนังสือประวัติศาสตร์ลาว สนับสนุนการจัดพิมพ์โดย THE TOYOTA FOUNDATION และ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2540

            @ แต่งและเรียบเรียงหนังสือฝั่งขวาแม่น้ำโขง สำนักพิมพ์ คลังวิทยา พ.ศ. 2499

ทำโน้ตขิมจำหน่าย โดยผ่านการตรวจรับรองจากกรมศิลปกร 

  • สุดท้ายของชีวิต

            ประมาณเดือน มกราคม 2514 นายเติมมีอาการแน่นหน้าอก ภรรยาและลูกฯ ได้นำตัวส่งโรงพยาบาลศิริราช แพทย์ได้ตรวจรักษาจึงรู้ว่าเป็นโรคหัวใจ แพทย์จึงให้พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล พออาการทุเลาดีขึ้น แพทย์ได้อนุญาตให้กลับบ้านได้ พอต้นเดือนมีนาคม อาการของโรคก็กำเริบขึ้นอีก ภรรยาและลูกได้นำตัวส่งโรงพยาบาลอีกครั้ง แพทย์ได้พยายามทำการรักษา แต่อาการไม่ดีขึ้น มีแต่ทรงกับทรุด จนถึงวันที่ 10 มีนาคม 2514 จึงจากไปด้วยอาการอย่างสงบ แพทย์ได้ลงความเห็นว่าจากไปด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ยังความโศกเศร้าของภรรยา ลูก และญาติ สิริอายุได้ 65 ปี.

            @ ขอบคุณข้อมูล : วิศิษฏ์ สิงหัษฐิต ทายาทตระกูลสิงหัษฐิต เรียบเรียงเป็นวิทยาทานเพื่อการศึกษา

       ……..

  • ปัญญา แพงเหล่า / รายงาน

       9 กรกฎาคม 2568

  • ภาพประกอบการทำหนังสือ “เล่าเรื่อง เมืองพิมูล” ซึ่งรวบรวมประวัติ นายเติม วิภาคย์พจนกิจ นักปราชญ์เมืองอุบล และบุคคลสำคัญหลากหลายสาขา...