รายงานพิเศษ : การสร้างเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนป้องกันการทุจริต

   เมื่อ : 29 มี.ค. 2568

           ด้วยชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดอุบลราชธานี ได้ดำเนินโครงการ สร้างเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนจับตามองและสอดส่องแจ้งเบาะแส ปีที่ 2 ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุน ปปช. (รุ่นที่ 1) กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี จึงจัดอบรมระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม 2568 ณ บ้านสวนคุณตาแอนด์รีสอร์ต อ.วารินชำราบ จ .อุบลราชธานี 

            โดยผู้เข้ารับการอบรมครั้งนี้ ประกอบด้วย เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน จากเครือข่าย(อพม.) อาสาสมัครพัฒนาสังคม ระดับตำบล อำเภอ จากอำเภอนาตาล อำเภอตาลสุม อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอตระการพืชผล และอำเภอพิบูลมังสาหาร จำนวน 100 คน พร้อมด้วยคณะกรรมการชมรม Strong-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดอุบลราชธานี คณะทำงาน ผู้สังเกตุการณ์ จำนวน 32 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 132 คน ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจาก สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอุบลราชธานี 

           ในปี พ.ศ.2567 ทางชมรม Strong-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดอุบลราชธานี ได้ขอรับงบประมาณสนับสนุนและขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน จับตามองและสอดส่องแจ้งเบาะแส โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเครือข่าย อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์หรือ (อพม.) จำนวน 10 อำเภอจำนวน 200 คน จากการฝึกอบรมกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจมากกว่าร้อยละ 87.29% 

          นอกจากนี้แล้วการลงพื้นที่ติดตามประเมินผลเครือข่าย อพม.ระดับ อำเภอ ที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อการเฝ้าระวังความเสี่ยงในพื้นที่ และมีส่วนร่วมแจ้งข้อมูลเบาะแสความเสี่ยงต่อการทุจริตไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุน การดำเนินการของภาครัฐในการยับยั้งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยมุ่งจับตามองการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงการดำเนินงานของภาครัฐที่ใช้งบประมาณไม่คุ้มค่า ไม่เกิดประโยชน์ส่วนรวมต่อคนใน พื้นที่อย่างแท้จริง (คิด ทำ ทิ้ง) โดย สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับนำไปขับเคลื่อนกิจกรรมระดับพื้นที่ของ ตนเองทำให้เกิดประโยชน์ต่อโครงการต่างๆ ของหน่วยงานรัฐที่มีความเสี่ยง สามารถระงับหรือยับยัง โครงการที่เกิดขึ้นและได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความคุ้มค่ากับงบประมาณ

           การจัดอบรมครั้งนี้ มีนางสาวสุวรีย์ อัครพงษ์เดชาโชติ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการพิเศษ ผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานในพิธีเปิด และมีนายประชา สิทธิโชค ประธานชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนจับตามองสอดส่อง และแจ้งเบาะแส ปีที่ 2 

           ทั้งนี้  ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต่อประชาชนและวางกลไก ป้องกัน ตรวจสอบและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตามมาตรา 63 โดยรัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และ ให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิดจากการทุจริต และประพฤติมิชอบ และจัดให้มีมาตรการและกลไก ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่างเข้มงวด รวมทั้งกลไกใน การส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกัน เพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ความรู้ต่อต้านหรือชี้เบาะแส ด้านแผน แม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้กำหนดแผนย่อยด้านการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ มุ่งการพัฒนาและปรับพฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่มในสังคม โดยเน้นการ ปลูกฝังและหล่อหลอมให้มีจิตสำนึก และพฤติกรรมยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรม ต้านทุจริต รู้จักแยกแยะเรื่องส่วนตัวออกจากประโยชน์ส่วนรวม ควบคู่ไปกับการสนับสนุนการมีส่วนร่วม เป็นเครือข่ายแจ้งเบาะแส การทุจริตในทุกภาคส่วนของสังคมซึ่งสอดคล้องกับการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

           นับเป็นโครงการสำคัญที่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและแจ้งข่าวสารเพื่อป้องกันการทุจริตต่อไป

       ….. 

  • ปัญญา แพงเหล่า/รายงาน

       28 มีนาคม 2568