รายงานพิเศษ : อุบลราชธานี ฟื้นฟูแหล่งประวัติศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเรียนรู้

   เมื่อ : 06 ก.ค. 2567

            จังหวัดอุบลราชธานี โดยสมาคมผู้สื่อข่าวอุบลราชธานี นักวิชาการ และปราชญ์ท้องถิ่น จัดโครงการบันทึกท้องถิ่น เพื่อฟื้นฟูสืบสานมรดกและภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ครบวงจร ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  โดยระดมคลังสมองในท้องถิ่นด้านประวัติศาสตร์ ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และเหตุการณ์ต่างๆ จากอดีตถึงปัจจุบัน รวบรวมเป็นสื่อเผยแพร่ทุกช่องทาง และจัดนิทรรศการ เป็นศูนย์ศึกษาและพิพิธภัณฑ์ วัดสระแก้ว และแก่งสะพือ ให้นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา และประชาชนศึกษาเรียนรู้อย่างยั่งยืน 

            ในการนี้ คณะกรรมการ ได้ประชุมและพิจารณากรอบเนื้อหาและสาระสำคัญ ในการบันทึกท้องถิ่น ปี 2567 มี 10 กลุ่มสาระดังนี้ 

1. ประวัติศาสตร์

2. เหตุการณ์สำคัญ / ตามรอยเสด็จ / พระบารมีคุ้มเกล้า 

3. สถานที่สำคัญ / แก่งสะพือ / เขื่อนสิรินธร / ศาลหลักเมือง / อื่นๆ

4. วัด / วัดหลวง / วัดสระแก้ว / วัดภูเขาแก้ว / วัดโพธิตาก / วัดดอนธาตุ / วัดป่าสนามชัย / อื่นๆ

5. ภูมิปัญญาชาวบ้าน / ปราชญ์ท้องถิ่น

6. โรงสี / โรงเลื่อย / โรงเรียน / อื่นๆ

7. บุคคลสำคัญ / สายตระกูล / ชาติพันธุ์ / อื่นๆ

8. ผลิตภัณฑ์ / ชาลาเปา / ฆ้องใหญ่ / ปลาน้ำมูล / อื่นๆ

9. ศิลปิน / หมอร้อง / หมอลำ / หมอแคน / รำวง

10. หนึ่งในร้อย../ ดี / เด่น / ดัง / อื่นๆ

            สำหรับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้าน และสื่อมวลชน ที่ร่วมประชุมเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2567 เพื่อกำหนดแนวทางการสืบค้นข้อมูล บันทึกท้องถิ่น “เล่าเรื่อง เมืองพิมูล” และ 100 เรื่องเมืองอุบล ประกอบด้วย 

            1. นางกาญจนา สายเสนา รองนายกเทศมนตรีเมืองพิบูลมังสาหาร 

            2. นางทัศนีย์ บุญประสิทธิ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองพิบูลมังสาหาร

            3. นายต่อพงษ์พันธ์ กิ่งจันทร์ รองนายกเทศมนตรีเมืองพิบูลมังสาหาร 

            4. นายอภิชาติ เศรษฐมาตย์ ปลัดเทศบาลตำบลกุดชมภู

            5. นายประสงค์ แพทย์เพียร ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอพิบูลมังสาหาร

            6. ดร.เรวัต สิงห์เรือง ผู้ทรงคุณวุฒิ

            7. ดร.สมพงษ์ เจริญศรี ผู้ทรงคุณวุฒิ

            8. นายคเณศ ประมุขกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ

            9. นายอร่าม สมสวย ผู้ทรงคุณวุฒิ

            10. นายไพรัตน์ เผ่าภูรี ผู้ทรงคุณวุฒิ

            11. นายสมพร ทองน้อย ผู้ทรงคุณวุฒิ

            12. นายสัมฤทธิ์ เหมพนัคร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ

            13. นายยอดยิ่ง ทองรอง ผู้ทรงคุณวุฒิ

            14. นายประจักษ์ ธรรมราช ผู้ทรงคุณวุฒิ

            15. ว่าที่ร้อยตรีทวีพล ปรัสพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ

            16. นายชัยยงค์ สายแวว ผู้ทรงคุณวุฒิ

            17. นายอักษรศาสตร์ ทองรอง สื่อมวลชน (ช่อง 5)

            18. นายธนกฤต วงษ์พรต สื่อมวลชน

            19. อาจารย์สุธิดา ตันเลิศ นักวิชาการ 

            20. นายปัญญา แพงเหล่า ผู้ทรงคุณวุฒิ/เลขานุการคณะกรรมการ

            สำหรับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการดำเนินการตามโครงการนี้ กำหนดให้สืบค้น รวบรวมข้อมูล การบันทึก การสัมภาษณ์ ระยะแรก 60 วัน และ 90 วัน เพื่อนำเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ ก่อนจะสรุปและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อการเรียนรู้ รวมทั้งการจัดนิทรรศการเผยแพร่ต่อไป

            ในโอกาสนี้ ขอขอบคุณที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ คือ นายสรชาย ครองยุทธ นายอำเภอพิบูลมังสาหาร และ ดร.ศิริมาเมธ์วดี ศิรธนิตรา นายกเทศมนตรีเมืองพิบูลมังสาหาร ที่อนุเคราะห์สถานที่และอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานจนกว่าจะแล้วเสร็จ รวมทั้งกราบขอบพระคุณเจ้าอาวาสวัดสระแก้ว ที่กรุณาอนุเคราะห์สถานที่จัดประชุม และเปิดพิพิธภัณฑ์ให้เยี่ยมชมและศึกษาวัตถุโบราณเพื่อสืบสานพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไป

            โครงการบันทึกท้องถิ่น 2567 ขอขอบคุณหน่วยงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และยังเปิดรับฟังข้อมูลและการมีส่วนร่วมจากพระสงฆ์ ผู้อาวุโส และผู้ที่รวบรวมข้อมูล ภาพเก่า และสาระสำคัญในท้องถิ่น เพื่อร่วมบันทึกประวัติศาสตร์ให้อนุชนคนรุ่นใหม่รับรู้ความเป็นมาและวิถีชีวิตที่ดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุขเพราะสถาบันหลัก คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งปวงชนชาวไทยทุกคน เทิดทูนไว้ตลอดชีวิต.

  • ธนกฤต วงษ์พรต / รายงาน