ไทย - ฮ่องกง หนุนการค้า 2 ฝ่าย ดัน ‘หนัง-ซีรีส์ไทย’ เข้าตลาดโลก ผลักดันส่งออกสินค้าไทยเพิ่มอีก 250 รายการ

   เมื่อ : 12 มี.ค. 2567

          นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้หารือแนวทางกับนายแอลเจอร์นอน เยา (Mr. Algernon Yau) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และการพัฒนาเศรษฐกิจฮ่องกง เกี่ยวกับแนวทางการสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ไทย แลกเปลี่ยนข้อมูลสินค้าและบริการในการเปิดตลาดฮ่องกง และเชิญชวนผู้ประกอบการฮ่องกงที่มีศักยภาพในการขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคอาเซียน โดยใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุน ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศและโอกาสทางธุรกิจของไทย - ฮ่องกง 

          ทั้งนี้ หากการค้าระหว่างไทยและฮ่องกงมีข้อจำกัดในอนาคต ได้ขอให้ทางฮ่องกงช่วยอำนวยความสะดวกด้วย เพื่อจะให้การเกิดการส่งเสริมธุรกิจและเพิ่มมูลค่าทางการค้าให้เติบโตไปด้วยกันมากขึ้น นำผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงาน FILMART โดยไทยได้ใช้โอกาสนี้ ชื่นชมการจัดงาน Hong Kong International Film & TV Market (FILMART) ที่ฮ่องกงจัดขึ้น ซึ่งเป็นงานซื้อขายภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย มั่นใจว่าผู้เข้าร่วมงานจากไทยจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยกระทรวงพาณิชย์ได้นำผู้ประกอบการเข้าร่วมในปีนี้จำนวน 27 บริษัท แยกเป็น

· ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์และแอนิเมชัน 9 บริษัท 

· ผู้ผลิตรายการและละครโทรทัศน์ 10 บริษัท 

· บริการเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 8 บริษัท 

           ทั้งนี้ หวังว่าจะเกิดการซื้อขาย และร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการไทยและฮ่องกงในระยะต่อไป โดยคาดว่า จะเกิดการจับคู่เจรจาการค้าไม่น้อยกว่า 200 นัดหมาย และเกิดมูลค่าเจรจาการค้า ไม่น้อยกว่า 800 ล้านบาท 

          หารือถึงการยกระดับความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

          นายภูมิธรรมจะร่วมเป็นสักขีพยานการลงนาม MOU ระหว่าง ห้าง Big C และผู้ส่งออกไทย 10 บริษัท ซึ่งเป็นผลสำเร็จของทีมพาณิชย์ที่สนับสนุนธุรกิจ SMEs และธุรกิจชมชนของไทยสู่ตลาดฮ่องกง และร่วมเป็นประธานพิธีเปิดงานส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าไทย ณ ห้าง Big C สาขาซิมจาจุ่ย ซึ่งเป็นกิจกรรมความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกับห้าง Big C ทุกสาขาในฮ่องกง ขณะเดียวกัน ได้หารือถึงการยกระดับความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) ที่จะมีการลงนาม MOU กันในการเดินทางเยือนฮ่องกงในครั้งนี้ เพื่อสร้างความร่วมมือใน 3 ด้าน ได้แก่ 

1) การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้า 

2) การสนับสนุนกิจกรรมการค้าเพื่อยกระดับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของธุรกิจ SMEs เช่น จัดการฝึกอบรมระหว่างกัน 

3) ความร่วมมือในการส่งเสริมการค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ

            นอกจากนี้ ได้ขอความร่วมมือฮ่องกงในการสนับสนุนและจัดการ Soft Power ของไทยให้มากขึ้น ทั้งอาหาร ผลไม้ ข้าวหอมมะลิไทย และธุรกิจบริการไทย เช่น โรงพยาบาล โรงแรม ให้ผู้บริโภคชาวฮ่องกงได้รับทราบ และช่วยสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกระชับความร่วมมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และยังขอให้ช่วยส่งเสริมการค้าในธุรกิจภาคบริการที่ไทยมีศักยภาพสูง อาทิ ธุรกิจบริการด้านสุขภาพและบริการสำหรับผู้สูงอายุ ธุรกิจ Startup การค้นคว้าวิจัยสมัยใหม่ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วย     

            12 มีนานี้ เตรียมหารือกับสมาคมผู้ค้าข้าวฮ่องกง และเยี่ยมชมคลังสินค้าข้าว CMGWT

            ในปี 2566 ที่ผ่านมา ฮ่องกงนำเข้าข้าวจากทั่วโลก 257,200 ตัน เป็นการนำเข้าจากประเทศไทย 148,500 ตัน (ร้อยละ 57.7) ประเทศจีน ประเทศเวียดนาม 60,100 ตัน (ร้อยละ 23.4) และจากประเทศจีน 21,200 ตัน (ร้อยละ 8.2) และเป็นตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิใหญ่ที่สุดเป็นลำดับ 3 ของไทย รองจากสหรัฐฯ และจีน โดยในวันที่ 12 มีนาคม 2567 นายภูมิธรรมจะพบหารือกับสมาคมผู้ค้าข้าวฮ่องกง และเยี่ยมชมคลังสินค้าข้าว CMGWT เพื่อหารือสถานการณ์การค้าข้าวในฮ่องกง

            ปี 66 ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 7 (คู่ค้าลำดับที่ 13)

           ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า ปัจจุบัน ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 7 (คู่ค้าลำดับที่ 13) ของการค้าในปี 2566 มีมูลค่า 13,708 ล้านเหรียญสหรัฐ (473,379 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.94 แบ่งเป็นการส่งออก มูลค่า 11,096 ล้านเหรียญสหรัฐ (382,429 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.04 และการนำเข้า 2,612 ล้านเหรียญสหรัฐ (90,949 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 5.04 โดยไทยได้ดุลการค้า 8,484 ล้านเหรียญสหรัฐ (291,480 ล้านบาท) 

สินค้าส่งออกหลักของไทยไปฮ่องกง 5 ลำดับแรก ได้แก่ 

1) อัญมณีและเครื่องประดับ 

2) แผงวงจรไฟฟ้า 

3) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 

4) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วประกอบ 

5) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ 

สินค้านำเข้าหลักของไทยจากฮ่องกง 5 ลำดับแรก ได้แก่ 

1) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 

2) เครื่องประดับอัญมณี 

3) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 

4) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 

5) สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์

Cr.กรมประชาสัมพันธ์