เล่าเรื่อง เมืองอุบล EP.13 : ทำเนียบช่างเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี (มรดกล้ำค่าภูมิปัญญา เมืองอุบลราชธานี)

   เมื่อ : 22 ม.ค. 2567

            ความเป็นมา : ประเทศไทยในอดีต มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมได้รับการคุ้มครองบ้างในบางส่วน เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ซึ่งดำเนินการไปตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แต่ยังมีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมบางส่วน เช่น องค์ความรู้ ทักษะ หรือ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรม ที่ยังไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างจริงจังและเป็นระบบ

            คณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เสนอร่างกฎหมายโดย มีหลักการ “ให้มีกฎหมายว่าด้วยมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ที่นิยมเรียกคาย่อว่า สนช.) และได้ผ่านความเห็นชอบจาก สนช. เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558 นั่นคือ “พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2559 เป็นต้นไป ซึ่งหน่วยงาน ธุรการที่กากับดูแลคือ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (กระทรวงวัฒนธรรม) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสานักงานเลขานุการของ คณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการเป็นกลไกสำคัญในการพิจารณาและให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาฯ และแผนงานหรือ โครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ…

            จังหวัดอุบลราชธานี มีมรดกและภูมิปัญญาที่หลากหลายทุกสาขาอาชีพ ที่โดดเด่นและสมควรได้รับการสนับสนุนและยกย่องเป็นแบบอย่างของสังคมด้านการศึกษา การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม คือ ช่างเทียนพรรษาภูมิปัญญาเมืองอุบลราชธานี จึงได้รวบรวมข้อมูลและวัติส่วนหนึ่งบันทึกและเผยแพร่ให้ทราบทั่วกันและสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดตามลำดับ ดังนี้

            1. พระครูวิโรจน์รัตโนบล 

           ประวัติพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด) วัดทุ่งศรีเมือง ตำบลในเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2398 โยมบิดาชื่อ บุดดี โยมมารดาชื่อ ดา ท่านเกิดที่หมู่ 1 ตำบลในเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันเด็กท่านได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่สำนักราชบรรเทา โดยได้ศึกษาอักษรลาว อักษรไทย อักษรขอม จนอ่านออกเขียนได้ ตัวท่านเป็นคนสุภาพเรียบร้อยไม่ชอบทำบาปมาตั้งแต่เด็กๆ จนท่านอายุได้ 24 ปี ตรงกับ พ.ศ.2422 ได้อุปสมบท ณ วัดป่าน้อย ปัจจุบันเรียกว่า วัดมณีวนาราม โดยท่านอธิการจันลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ดีเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วท่านได้ศึกษาพระธรรมวิจัยท่องบทสวดมนต์ อันมี เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน พระปาฏิโมกข์ สัททสังคหสูตร มูลกัจจายน์ จนจบ พระอุปัชฌาย์เห็นว่าท่านมีความรู้ดีจึงส่งท่านไปอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง ท่านก็ได้ปฏิบัติเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย ขยันเอางานเอาการ ต่อมาท่านเจ้าอาวาส วัดทุ่งศรีเมืองว่างลง ทางการจึงตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครอง วัดทุ่งศรีเมือง

            จากประวัติความเป็นมาของหลวงปู่รอด หรือพระครูวิโรจน์รัตโนบลอันเกี่ยวเนื่องจากการที่ท่านได้ทำการบูรณะองค์พระธาตุพนมเมื่ออดีตกาลที่ผ่านมา ซึ่งจะได้กล่าวในโอกาสต่อไปนั้น ผู้เขียนได้ศึกษาและค้นคว้ามาจากตำนานพระธาตุพนม ซึ่งพระคุณเจ้าพระเทพรัตนโมลี (วัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม) เป็นผู้เรียบเรียงมาเสนอให้ผู้อ่านได้มีโอกาสทราบถึงคุณธรรมอันเป็นประโยชน์มหาศาล ตลอดจนบุญบารมีของหลวงปู่รอด ผู้ซึ่งเป็นประธานในการบูรณะองค์พระธาตุพนมให้มีความสวยสดงดงามเป็นสง่าราศีและเป็นปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนมาตราบถึงทุกวันนี้ ด้วยความวิริยะอุตสาหะอันแรงกล้าของหลวงปู่รอดนั่นเอง

            พระครูวิโรจน์รัตโนบล เดิมทีท่านจะขึ้นมาซ่อมพระธาตุพนม ท่านมีสมณศักดิ์ว่าที่พระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช (เจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ) ครั้นเมื่อซ่อมองค์พระธาตุพนมเสร็จเรียบร้อยแล้ว กลับลงไปจังหวัดอุบลฯ ท่านจึงได้เลื่อนสมณศักดิ์ใหม่เป็น พระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาท่านชราภาพมากทางคณะสงฆ์จึงยกท่านให้เป็นกิติมศักดิ์

            จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2484 ท่านได้มรณะภาพที่วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี รวมสิริอายุได้ 88 ปี พรรษา 67 ศิษยานุศิษย์และญาตโยมทั้งหลายได้จัดพิธีฌาปนกิจถวายหลวงปู่รอดเป็นการมโหฬารยิ่ง เมื่อเดือนเมษายน 2485

สมเด็จมหาวีรวงศ์ ได้เป็นผู้อุปถัมภ์นำศพท่านบรรจุไว้ในหีบไม้ลงรักปิดทองแบบโบราณ ตั้งบนหลังนกหัสดีลิงค์ภายใต้เมรุอันวิจิตรตระการตาสมเกียรติคุณงามความดีของท่านพระครูดีโลดทุกประการ…

            นับเป็นปราชญ์แห่งช่างและครูศิลปะของเมืองอุบลราชธานี ศรีวนาลัย ที่ศิษยานุศิษย์กราบยกย่องเชิดชูบูชาตลอดไป

            2.ดร.คำหมา แสงงาม

            ศิลปินแห่งชาติ คนแรก ของจังหวัดอุบลราชธานี

            ดร.คำหมา แสงงาม เกิดเมื่อ ปีมะโรง พ.ศ.2434 ที่บ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายเคน และนางค้ำ แสงงาม มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน นายคำหมา แสงงาม เป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัว และได้แต่งงานกับนางลำดวน แสงงาม มีบุตรธิดา 4 คน

            การศึกษาเล่าเรียน ท่านเรียนหนังสือตัวธรรมและมูลกระจายจากพระสงฆ์ เมื่ออายุ 6 ขวบ พ่อแม่นำไปฝากเป็นศิษย์วัดศรีนวล บ้านชีทวน ศึกษาวิชาหนังสือและวิชาช่างกับพระอาจารย์วง และ พระอาจารย์สี จนกระทั่งอายุ 10 ขวบ จึงบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ขณะนั้นได้ศึกษาพระธรรมวินัยและศิลปะการช่างไปพร้อมกันด้วย

            ดร.คำหมา แสงงาม หรือ “ครูคำหมา” หรือ “จารย์ครูคำหมา” ได้รับการยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ทางช่างศิลป์ผู้มีฝีมือยอดเยี่ยมเป็นที่ยอมรับของซาวอีสาน จนกระทั่งมีผู้ให้สมญานามว่า “ช่างเทวดา” และ “ช่างเนรมิต” โดยเป็นช่างคนเดียวของภาคอีสาน ที่มีความสามารถในการทำ ”นกหัสดีลิงค์” ได้อย่างสวยงาม และ ด้วยความโดดเด่นในฝีมือการก่อสร้างและการบูรณะถาวรวัตถุ ประเภทโบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ หอระฆัง ฯลฯ อันเป็นสิ่งปลูกสร้างทางพุทธศาสนา ได้สร้างซื่อเสียงให้แก่ครูคำหมา จนเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง อาทิ การบูรณะองค์พระธาตุพนม การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกแบบและก่อสร้างซุ้มประตูวัด กำแพงแก้ว โบสถ์ เมรุเผาศพชั่วคราว มากมาย

            การสืบสานภูมิปัญญาในด้านงานแกะสลัก ท่านถือเป็นผู้บุกเบิก ”การแกะเทียนพรรษา” ที่ถือเป็นรูปแบบใหม่ในยุคนั้น เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีการหล่อเทียน แห่เทียน เช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระ เพื่อจุดบูชาจำพรรษา 

            ดร.คำหมา แสงงาม ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชู เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (งานปั้นแกะสลัก) ปี 2529 นับเป็นครูช่างศิลป์และช่างเทียนพรรษาคนแรกของจังหวัดอุบลราชธานี และต่อมาจังหวัดอุบลราชธานี มีศิลปินแห่งชาติหลายสาขา รวม 16 คน สร้างชื่อเสียงและเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูลและสังคมประเทศชาติสืบไป...

            สำหรับข้อมูลช่างเทียนพรรษา จากอดีตถึงปัจจุบันที่มีการรวบรวมไว้ส่วนหนึ่ง ดังนี้

1. พระครูวิโรจน์รัตโนบล​ (2396 - 2484 สิริอายุ 88 ปี)

2. ดร.คำหมา แสงงาม (2434 - 2533 อายุ 99 ปี)

3. นายโพธิ์ ส่งศรี​ (2429 - 2522 อายุ 93 ปี)

4. นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร (2476 - 2554 อายุ 78 ปี)

5. นายคำหล้า จันทรวิจิตร ​(ถึงแก่กรรม 2513 อายุ 64 ปี)

6. นายเทอด บุณยรัตน์พันธค์ (2463 - 2555 อายุ 92 ปี)

7. นายล้วน มุขสมบัติ​ (ถึงแก่กรรม พ.ศ.2521)

8. นายสวน คูณผล​ (ถึงแก่กรรม พ.ศ.2494)

9. นายประดับ ก้อนแก้ว (2473 - 2566 อายุ 93 ปี)

10. นายหนู วิริยภาพ (ถึงแก่กรรม 2507)

11. นายศิริ สุวรรณกูฎ​ (ถึงแก่กรรม2537อายุ 72 ปี)

12. จ.ส.อ.สงวน สุพรรณ (ถึงแก่กรรม) 

13. นายประเสริฐ แสงสว่าง (ถึงแก่กรรม)

14. พระครูกิตติวัณโณบล​ (มรณภาพ 2551 อายุ 56 ปี)

1. นายมนัส สุขสาย 299 หมู่ 11 บ้านนิคมจัดสรร ต.ไร่น้อย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 

2. นายสมคิด สอนอาจ 6 ถ.สรรพสิทธ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 

3. นายโชคชัย ตักโพธิ์ 624 หมู่ 28 บ้านดอนกลาง ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

4. นายประจญ เสริฐวิชา​ ร้านประกายศิลป์ 27/12 ถ.นิวาสวิถี อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

5. นายพงศ์ศาล ลาพรหม 81 ถ.พโลชัย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

​6. นายประพันธ์ ศิริผล 333/3 หมู่ 5 ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

​7. นายสุวัฒน์ สุทธิประภา ​267/2 ซ.ชาลีอุทิศ ถ.สถลมาร์ค อ.วารินชำราบ ​จ.อุบลราชธานี 

8. นายอำนวย วรพงศธร ​76/13 ถ.บูรพานอก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 

9. นายพันธ์ศักดิ์ พูลเสมา 133 ถ.พิชิตรังสรรค์ ต.ในเมือง อ.เมือง ​จ.อุบลราชธานี

10. นายอภิวัฒน์ จันทรวิจิตร​ 202 ถ.เทศบาล ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

11. นายวิชิต บุญจริง​ 102 ถ.พรมราช ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

12. นายวิเชียร ภาดี​ 181 หมู่ 6 บ้านคูเดื่อ ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 

13. นายอุดม เจนจบ​ 131 หมู่ 9 ต.กุดลาด อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

​14. นายจักรกฤษณ์ จิตเสนาะ ​17 หมู่ 5 ต.สักโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

​15. นายธำรงวิทย์ บุญสุข​ 205 ซ.อ่างทอง ถ.สถลมาร์ค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 

16. นายเรวัต สิงห์เรือง ​200/4 ถ.บำรุงราษฎร์ ต.พิบูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี 

17. พระมหาบุญจันทร์ กิตติโสภโณ

18. นายแก้ว อาจหาญ ​19/1 ถ.กันทรลักษณ์ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

​19. นายราเชนทร์ จุลทุม ​223 ถ.กันทรลักษณ์ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี​

20. พระครูสมุห์สำลี ทิฏฺฐฺทมโม​ วัดทุ่งศรีเมือง 

21. นายเล็ก เวชภัณฑ์

22. นายณัฐพล วงศ์สุวรรณ

23. นายชัยวัฒน์ สุทธิประภา

24. นายชัยรัตน์ สุทธิประภา

25. นายนันทพันธ์ เสียงเย็น

26. นายวิศรุต ภาดี

27. นายสุดสาคร หวังดี

28. นายชาญณรงค์ สอนอาจ

29. นายศุภกฤต สอนอาจ

30. นายอภิชาติ คอแก้ว

31. นายสุรชัย จันทร์ส่อง

32. นายสิทธิศักดิ์ จันทร์ส่อง

33. นายสุรพล จังกาจิตต์

34. นายวิจิตร พาเรือง

35. นายศุภณัฐ เจนจบ

36. นายอัฐกร แก้วหาวงศ์

37. นายธีระพงษ์ เก็บเงิน

38. นายก้าวไกล สวยงาม

39. นายเกรียงไกร พันธ์พัฒน์

40. นายธีรศักดิ์ สายแวว

41. นายประเสริฐ จำปาวัลย์

หมายเหตุ : การรวบรวมข้อมูลประวัติช่างเทียนพรรษาในโอกาส 231 ปี อุบลราชธานี ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม 2566

       ……………

  • ปัญญา แพงเหล่า/รายงาน