รายงานพิเศษ : แนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคน อุบลราชธานีอย่างยั่งยืนประจำปี 2567

   เมื่อ : 31 ก.ค. 2567

          ความเป็นมา : โครงการแก้ปัญหาอุทกภัยของจังหวัดอุบลราชธานี ของศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปก จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดขึ้นตามลำดับดังนี้

          @ ปี พ.ศ.2563 ได้จัดทำโครงการ “การบริหารจัดการกับภัยพิบัติอุทกภัยของชาวอุบลราชธานีปี ภาพสะท้อนผลกระทบจากชาวอุบลราชธานี”

          @ ปี พ.ศ.2564 ได้จัดทำโครงการ “การบริหารจัดการกับภัยพิบัติอุทกภัยของชาวอุบลราชธานีปี การพัฒนาเมืองแบบมีส่วนร่วมในด้านการบริหารจัดการผังเมือง”

          @ ในปี พ.ศ.2565 คณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดทำโครงการของปี พ.ศ.2565 ภายใต้โครงการในหัวข้อ “การบริหารจัดการกับภัยพิบัติ อุทกภัยของชาวอุบลราชธานีปีที่ 3 : การแก้ปัญหาผลกระทบจากน้ำท่วมของเมืองอุบลราชธานีอย่างบูรณการ”

          @ สำหรับ ปี 2567 มีเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการปีที่ 4 (ครั้งที่ 4) ประกอบด้วย หน่วยงาน องค์กรภาครัฐและภาคประชาชน ดังนี้ 

            1. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

            2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

            3. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

            4. ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี 

            5. หอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี

            6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุบลราชธานี

            7. ผู้อำนวยการแขวงการทางหลวงอุบลราชธานีที่ 1

            8. เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

            9. สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 2 จังหวัดอุบลราชธานี

            10. NBT อุบลราชธานี

            11. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี

            12. สมาคมสื่อมวลชนอุบลราชธานี

            13. เครือข่ายบ้านมั่นคง

            14. วุฒิอาสาธนาคารสมอง (Brain Bank) อุบลราชธานี

            15. มูลนิธิเจ้าคำผงผู้สร้างเมืองอุบลราชธานี

            16. เครือข่ายภาคประชาชน

            17. ประธานมูลนิธิประชาสังคมอุบลราชธานี

            18. กรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดอุบลราชธานี

            19. โยธาธิการและผังเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

            20. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดอุบลราชธานี

            21. สำนักชลประทานที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี

            22. โครงการชลประทานอุบลราชธานี

            23. องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

            24. เทศบาลนครอุบลราชธานี

            25. เทศบาลเมืองวารินชำราบ

            26. เทศบาลเมืองแจระแม

            27. องค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง

            28. องค์การบริหารส่วนตำบลแสนสุข

            29. เครือข่ายนักธุรกิจ

            30. นักวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

            31. นักวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

            32. นักศึกษาและเยาวชน

          @ สาระสำคัญของโครงการ “แก้ปัญหาน้ำท่วม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนอุบลราชธานีอย่างยั่งยืน” จัดโดย ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และเครือข่าย จำนวน 32 เครือข่าย และดำเนินการเสวนาในวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ หอประชุมบุษยรัตน์ ชั้น 2 อาคาร 20 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

          @ ก่อนการเสวนา มีการชมวิดีทัศน์นำเสนอปัญหาอุทกภัยของจังหวัดอุบลราชธานี และการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา เมื่อปี 2521 ปี 2545 ปี 2562 และ ปี 2565  

            ประธานในพิธีเปิด โดย นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตรกร โพธิ์งาม รองประธานศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ พร้อมมอบของที่ระลึกสำหรับวิทยากรตามลำดับ

          @ สำหรับประเด็น การเสวนาในหัวข้อ “น้ำท่วมเมืองอุบล ใคร? จะเป็นคนแก้ไข/ถนนยกระดับเชื่อม อำเภอเมือง-อำเภอวารินชำราบ ใช้สัญจรช่วงน้ำท่วม : ความฝันหรือความเป็นจริง ของคนอุบลราชธานี?” และรับฟังข้อเสนอจากผู้เข้าร่วมประชุม โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย นายมงคล จุลทัศน์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี นายบุญเลิศ แสงระวี ผู้ช่วยหัวหน้ากองโรงไฟฟ้า เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี นายวุฒิชัย ศรีทอง หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำ ส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 7 อุบลราชธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤกษ์ชัย ศรีวรมาศ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นายวันปิยะ ภุมมะภูติ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุบลราชธานีที่ 1 จังหวัดอุบลราชธานี นายวินัย รัชบุตร ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุบลราชธานีที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี และดำเนินรายการโดย อาจารย์นพภา พันธุ์เพ็ง ประธานมูลนิธิสื่อสร้างสุข อุบลราชธานี 

            ทั้งนี้ มีการถ่ายทอดสด..ทางเฟซบุค โดย อุบลคอนเนก, อยู่ดีมีแฮง, VR Cable, วารินชำราบบ้านเฮา และ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี FM 98.50 MHz. 

            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเชาวน์ มีหนองหว้า กล่าวว่า ผลจากการดำเนินงานโครงการครั้งที่ 4 (2567 ) คณะกรรมการจะสรุปผลและรายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบนำไปพิจารณาและกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งในเบื้องต้น จากการเสวนาและรับฟังข้อมูลจากเครือข่ายและประชาชนชาวจังหวัดอุบลราชธานี อยากเห็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ออกมาตรการแก้ปัญหาแบบยั่งยืน เพราะจากการเปิดเวที 3 ครั้งที่ผ่านมา ยังไม่มีผลที่เป็นรูปธรรม คือ ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขทุกข้อ และยังมีข้าราชการการเมืองระดับประเทศ เคยรับปากว่าจะสนับสนุนเป็นวาระแห่งชาติ รวมทั้งนักการเมืองในพื้นที่ยังไม่ได้รับทราบข้อมูลและมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนในการแก้ปัญหาระยะยาว ส่วนระบบป้องกันและแก้ปัญหา กรณีน้ำท่วม ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการเตรียมการพร้อมรับสถานการณ์ แต่ไม่มีรายละเอียด จึงขอนำข้อมูลทั้งหมดสรุปประเด็นสำคัญเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในลำดับต่อไป ขอให้ประชาชนได้ติดตามรับฟังข่าวสารและร่วมมือกันอย่างจริงจัง จึงมั่นใจว่า หากมีน้ำท่วมปีนี้ ทุกภาคส่วนจะเร่งแก้ปัญหาได้อย่างแน่นอน

       …….

  • ปัญญา แพงเหล่า/รายงาน

       31 กรกฎาคม 2567

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ