รายงานพิเศษ EP.15 : การพัฒนาเครือข่าย ระบบดูแลผู้ป่วยมะเร็ง อุบลราชธานี

   เมื่อ : 29 ก.ค. 2567

           วิวัฒนาการของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว.. ข่าวสาร.. คือสิ่งเสพติดที่คนเสพไม่รู้ตัว.. ซึ่งมีทั้งข่าวดี ข่าวร้าย และข่าวที่เป็นความจริง..!

            ข่าวสารที่มีผู้สนใจมากที่สุดลำดับต้นๆ คือ สาระน่ารู้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน คือ ปัจจัย 4 และผลกระทบที่เกิดจากใช้ชีวิตตั้งแต่วัยแรกเกิดถึงสิ้นอายุขัย…การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นไปตามกฎตามธรรมชาติ.. 

            ในช่วงชีวิตหนึ่งทุกคนจะต้องประสบคือ การเจ็บป่วย ไม่มีใครหลีกหนีได้ เจ็บป่วยเล็กน้อย ถึงเจ็บป่วยมาก หรืออุบัติเหตุร้ายแรงก็มี ไม่มีใครทราบล่วงหน้าได้ว่า จะเจ็บป่วยตอนไหน!! และไม่เคยคิดว่าจะป่วยด้วยซ้ำ..

          แต่…ถ้าจะป่วย ทุกคนคิดในใจว่า… ขออย่าให้ป่วยเป็นมะเร็ง!!!! ทำไมถึงไม่อยากป่วยเป็นมะเร็ง .. ทุกคนที่ติดตามข่าวสาร ทราบว่า คนไทยป่วยเป็นมะเร็ง คือโรคร้าย

และเพียงทราบว่าป่วยเป็นมะเร็ง !!! และคิดว่าโรคนี้ใครเป็นจะเสียชีวิต.. หรือ อายุไม่ยืนยาว !!!! 

            วันนี้มีคำตอบ.. ว่ามะเร็ง คือ มัจจุราชร้ายที่ฆ่ามนุษย์…จริงหรือไม่ และทางการแพทย์ มีแนวทางป้องกันรักษาอย่างไร หลายคนจึงรอดพ้นจากโรคมะเร็ง!!!!

          ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อิศรางค์ นุชประยูร ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์โรคเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ...เป็นวิทยากร บรรยาย…ระบบดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นมะเร็ง…และสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง... จึงขอนำข้อมูลที่สรุปและน่าสนใจมาสื่อสารให้ทราบทั่วกัน คือ 

          @ มะเร็ง ไม่มีอะไรน่ากลัว!!! ฟังให้จบ.. และคิดตามให้ครบถ้วน!!!

          @ มะเร็ง...รักษาได้..!เส้นทางการรักษา คุณหมอพบว่า มี 2 กลุ่ม คือ อยากรักษา และไม่อยากรักษา ซึ่งสาเหตุมาจากคนป่วย/ครอบครัว และปัจจัยต่างๆ แต่มะเร็งรักษาได้ และรักษาหาย ซึ่งคนที่รักษาหายแล้ว ได้รวมกันสร้างเครือข่าย เป็นมูลนิธิ มีสมาชิกทั่วประเทศ

          @ มะเร็ง…รักษายาก?? เส้นทางนี้ มีหลายสาเหตุ ที่รักษายาก แต่มีระบบรองรับ คือ การแพทย์ทางเลือก / สมุนไพร และอื่นๆ 

          @ มะเร็ง...คือ โรคชนิดหนึ่ง ที่ทุกคน มีโอกาสเป็น แต่ขาดข้อมูลการป้องกัน หรือ ปิดบังข้อมูล พอไปตรวจพบว่า อยู่ในขั้นอันตราย หรือ รักษายาก!!!

          @ มะเร็ง… ทำให้คนกลัว และพยายามจะไม่บอกใคร!! แม้แต่คนใกล้ชิด ครอบครัว คนรัก คนสนิท.. เพราะเรื่องสิทธิส่วนบุคคล.. เลยเป็นข่าวกระซิบกระซาบ.. !!! 

          @ เป็นมะเร็ง... แล้วตาย… คนไม่เป็นมะเร็ง... ก็ตาย…?

            มะเร็ง ไม่มีอะไรน่ากลัว.. จากการรับฟังข้อมูล และการประชุมสัมมนาครั้งนี้ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ นายแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้เปิดเวที ครั้งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับเป็นการดำเนินงานด้านการป้องกันและทิศทางการรักษาและดูแลผู้ป่วย ผู้เคยป่วย และผู้รับผิดชอบสร้างเป็นเครือข่าย และขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 

            การสื่อสาร: หรือการพูดคุยกับผู้ป่วย กับญาติผู้ป่วย จากเสวนากลุ่มย่อย และผู้มีประสบการณ์ตรง เป็นทักษะและความรู้สำหรับทุกคน คือ การพูดคุยกับผู้ป่วย เวลาไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล หรือที่บ้านพัก ต้องคิดเสมอว่า ผู้ป่วยยอมเปิดเผยข้อมูล และต้องการปกปิดข้อมูล มีกรณีตัวอย่างเวลาไปเยี่ยม ส่วนมากจะถามถึงอาการป่วย และถามว่าเป็นโรคอะไร!! ถ้าเป็นโรคมะเร็ง หรือ ไม่เป็น มีคนพูดว่า จะหายไหม รักษานานไหม ใช้ยาอะไร เคมี หรือสมุนไพร!!! พูดยาวไปจนลืม นึกถึงจิตใจคนป่วย! เป็นบทเรียน แทนที่คนป่วยจะดีใจ และมีอาการดีขึ้น พอได้ฟัง คนไปเยี่ยมถามว่า.. จะหายไหม รักษานานไหม!!! วิทยากรและผู้เคยป่วยแนะนำว่า ควรใช้คำพูดที่เป็นกำลังใจ และอย่าคุยเรื่องเจ็บป่วย..! ยกเว้นผู้ป่วยอนุญาตและแจ้งให้ทราบแล้ว!!! หรือคุยในสิ่งที่เขาชอบ ในสิ่งดีๆ เช่น กีฬา ท่องเที่ยว ความบันเทิงในเชิงบวก และการพูดคุยกับญาติผู้ป่วยให้มีความเข้าใจ และแนะนำข้อมูลเพื่อเป็นกำลังใจ และวางแผนการดูแลรักษาในแนวทางที่ดีที่สุด 

            ทักษะการสื่อสารพูดคุย จึงมีความสำคัญมาก ผู้เคยป่วย ผู้ดูแลคนป่วย ได้รวบรวมปัญหาการสื่อสาร และใช้คำพูดไม่สร้างสรรค์ อาจทำร้ายจิตใจของผู้ป่วย และญาติผู้ป่วยได้ 

            กรณีคนในครอบครัวป่วย เช่น ถ้าพ่อเป็นมะเร็ง จะให้แม่รู้ไหม ลูกทุกคนควรรู้ไหม จะบอกพ่อตรงๆ ไหม หรือ ทุกคนในครอบช่วยกันปกปิด!! ขอฝากให้ผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ไปพิจารณาต่อครับ 

            ขอเพิ่มประเด็นสำคัญ ที่รับรู้จากวิยากร คือ มะเร็ง เป็นโรคติดต่อ หรือ เป็นกรรมพันธุ์ไหม!!! พอสรุปได้ว่า มะเร็ง คือโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่กรรมพันธุ์ เพราะมีตัวอย่าง คือ ในครอบครัวหนึ่ง 5 คน เป็นมะเร็งทุกคน!!! พ่อเป็นมะเร็งปอด แม่มะเร็งปาก(ผิวหนัง) ลูกสาวเป็นมะเร็งเต้านม ลูกชายเป็นมะเร็งท่อปัสสาวะ อีกคนเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ??? ซึ่งคุณหมออธิบายว่า มะเร็งเกิดจากเชลล์ที่ผิดปกติ หรือ จากอาหารการกิน และสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งมีงานวิจัยรองรับทุกกรณี 

            ที่สำคัญ คนขาดความรู้เรื่องการรักษาสุขภาพที่ดี มีอะไรบ้าง ทุกโรคก็มาจากหลายสาเหตุ ไม่ใช่กรรมพันธุ์อย่างเดียว การดูแลสุขภาพมาตั้งแต่ในท้องแม่ วัยแรกเกิด วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยชราให้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ…ขอขอบคุณทีมวิทยากรที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และถ่ายทอดความรู้ ทักษะการสื่อสาร การดูแลผู้ป่วย การดูแลญาติผู้ป่วย และระบบการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน และผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ สร้างความมั่นคงทางจิตใจให้ผู้ป่วยมีความเข้มแข็ง และใช้ชีวิตปกติต่อไป สรุปว่าเป็นมะเร็ง รักษาได้ และหายปกติเหมือนรักษาโรคทั่วไป 

            การประชุมครั้งนี้ หน่วยงานและบุคลากรทางการแพทย์ร่วมกันจัดขึ้น ประกอบด้วย โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง สำนักงานหลักประกันสุขภาพ(สปสช.) อุบลราชธานี โดยมีนายแพทย์เฉลิม ไชยรัตน์ ผอ. โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี คุณศิรินทิพย์ ขัตติยะกาญจน์ ประธานมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง รศ.ดร.ภญ. ยุพดี สิริสินสุข รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ศาสตราจารย์ นพ.อิศรางค์ นุชประยูร ด้านกุมารเวชศาสตร์โรคเลือด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.พงศธร ศุภอรรถกร แพทย์เฉพาะทางด้านรังสีวิทยา อดีต ผอ. โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี นพ.วิกรานต์ สอนถม นายแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรม ดร.อนุชตรา วรรณเสวก พยาบาลวิชาชีพ คุณเพชรไทย นิรมานสกุลพงษ์ พยาบาลวิชาชีพ นพ.กฤษณดนัย ตันติเศรษฐ, คุณอมรรัตน์ พงศ์จรรยากุล และ นายแพทย์ พยาบาล ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี และเครือข่าย ร่วมกันจัดกิจกรรม ทั้งการบรรยาย สาธิต และสัมภาษณ์ผู้เคยป่วยเป็นมะเร็งชนิดต่างๆ เช่นมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งไขกระดูก มะเร็งผิวหนัง และอื่นๆ ซึ่งผู้เคยป่วย มีทั้งแพทย์ พยาบาล บุคลากร ด้านสาธารณสุข และบุคคลทั่วไป ซึ่งส่วนหนึ่ง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยได้ถ่ายความรู้ ประสบการณ์ และทักษะในการดูแลรักษาคนป่วย นับเป็นการประชุมที่สร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมนำไปขยายผลต่อไป

            ขอขอบคุณ หน่วยงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และที่สำคัญผู้ร่วมประชุมทุกคน เป็นบุคคลที่ผ่านการเรียนรู้ และการรักษาผู้ป่วย เคยป่วย หายป่วย ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และญาติผู้ป่วยให้เข้าใจ จากที่เป็นข่าวร้ายให้เป็นข่าวดี จะสามารถฟื้นฟูร่างกาย จิตใจของสมาชิกหรือบุคคลทั่วไปให้มีความพร้อม อย่าประมาท และใช้ชีวิตให้เป็นปกติ เพราะการรักษาทุกโรค มีทั้งหายและไม่หาย ต้องสร้างพลังให้มีความเข้มแข็งในครอบครัวในชุมชนและสังคมประเทศชาติ 

            ขอให้เชื่อมั่นในการสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งมีศักยภาพระดับโลกคนไทยทุกคน ต้องอยู่ในระบบการดูรักษาอย่างดีที่สุดและปลอดภัยห่างไกลทุกโรคตลอดไป…

          โครงการ พัฒนาแกนนำเครือข่ายผู้ป่วย ในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยมะเร็งภาคอีสาน Thai Cancer Academy: Counselling Training Program จัดระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม2567 ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ จ.อุบลราชธานี

            สำหรับวัตถุประสงค์โครงการ

          1. สร้างเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง

          2. สร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

          3. สามารถให้คำปรึกษา การดูแล รับมือ อย่างถูกต้องทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ

          4. ส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาและ สิทธิประโยชน์ต่างๆ

            สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย

          1. ผู้มีความสนใจที่จะทำงานด้านการให้คำปรึกษาผู้ป่วยมะเร็งอย่างต่อเนื่องต่อไป

          2. ผู้เคยเป็นผู้ป่วย ผู้รอดชีวิต ญาติผู้ป่วย ผู้ดูแล ผู้ให้บริการ และผู้สนับสนุน ผู้ป่วยมะเร็ง

          3. มีความตั้งใจจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่ในสังกัดหน่วยงานหรือองค์กรใดก็ตาม 

          สำหรับความเป็นมาของมูลนิธิ : ก่อตั้งเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2550 เป็นที่รู้จักในนามชมรมเพื่อนมะเร็งไทยซึ่งเป็นองค์กรจิตอาสาที่พัฒนามาจากกลุ่มอาสาเพื่อนมะเร็ง โดยเป็นการรวมตัวกันเองของผู้ป่วยมะเร็งมาร่วมกันทำงานสาธารณะประโยชน์ภายใต้แนวคิด “เพื่อนช่วยเพื่อน” หลังหากนั้นได้มาอยู่ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิมิตรภาพบำบัด 

            ต่อมา ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลมูลนิธิในนาม “มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง” Thai Cancer Society (TCS) ในเดือนมีนาคม 2563 TCS จึงถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิด และเป็นแนวหน้าการทำงานของเครือข่ายมะเร็ง ในอันที่จะเสริมสร้างครามเข้มแข็งของกลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง ในรูปเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง ญาติ ผู้ดูแล ผู้รอดชีวิต จิตอาสา ผู้ให้บริการ โดยทำงานร่วมกับ นักวิชาการ/วิชาชีพ ผู้เชี่ยวชาญ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะประสานความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตั้งแต่ การคัดกรอง การรักษาพยาบาล การดูแล การใช้บริการ การดูแลแบบประคับประคอง แบบประคอง และสิทธิประโยชน์ เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งมีคุณภาพชีวิต สามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นทุกมิติ TCS ยังได้รับการสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชน และภาคประชาสังคมด้วยดีตลอดมา

            สำหรับมีวัตถุประสงค์ ของมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง ดังนี้

          1. ดำเนินกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็งเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแล

          2. ให้ความรู้และคำปรึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เพื่อการดูแล รับมืออย่างถูกต้อง

          3. สร้างสรรค์สื่อเพิ่มการตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งแก่บุคคลทั่วไปในสังคม

          4. ขับเคลื่อนนโยบายและแผนงานด้านโรคมะเร็ง…

            ในนามผู้ร่วมประชุม และผู้เคยป่วยเป็นมะเร็ง ซึ่งมีความยินดีและร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ขอบคุณมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง และหน่วยงานที่ร่วมโครงการ รวมทั้งนายแพทย์ พยาบาล และบุคลากรด้านสาธารณสุขทุกท่าน ที่เสียสละเพื่อพัฒนาและสร้างเครือข่ายมะเร็ง ให้มีความเข้มแข็ง เป็นที่พึ่งของผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และประชาชนทั่วไปได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร สาระสำคัญในการป้องกัน และการรักษาโรคที่ทุกคนกลัว ทุกคนปกปิด ให้ทุกคนตระหนักและร่วมกันรับผิดชอบ แก้ไขในส่วนที่ไม่รู้ว่า มะเร็งไม่น่ากลัว มะเร็งรักษาได้ และมีเครือข่ายช่วยเหลือดูแลสนับสนุนควบคู่ไปกับภารกิจของภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการรักสุขภาพของประชาชนต่อไป.

       …………

  • ปัญญา แพงเหล่า/รายงาน

       27 กรกฎาคม 2567