ก.กก บึงกาฬ ห้องเรียนข้ามขอบของคนบึงกาฬ

   เมื่อ : 25 เม.ย. 2567

            เป็นเวลากว่า 5 ปี ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อบ้านโพธ์ทองตำบลโนนสมบูรณ์ จังหวัดบึงกาฬหรือ กลุ่มก.กกบึงกาฬ สามารถยืนหยัดได้ด้วยลำแข้งของคนในชุมชนและพร้อมเป็น Change Agent สร้างคน สร้างงานให้คนในชุมชนและขยายไปสู่วงกว้างซึ่งเบื้องหลังความสำเร็จนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีแกนนำหลักอย่างนางรัศมี อืดผาครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬที่ลุกขึ้นมาชวนคนในชุมชนเปลี่ยนแปลงความคิดมองเห็นคุณค่าทรัพยากรดีๆ ในชุมชนอย่าง“กกและผือ”มาต่อยอดจนเกิดเป็นคุณค่าและมูลค่าเพิ่มที่สามารถสร้างทั้งรายได้สานทั้งใจ ทั้งความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและคนในชุมชนไว้ด้วยกันโดยมีกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ช่วยหนุนเสริมวิธีคิดและเครื่องมือการทำงาน

            วันนี้ กลุ่มก.กกบึงกาฬ ได้เดินทางมาถึงการเป็น“ชุมชนตัวแบบ”ที่สามารถออกแบบการเรียนรู้ได้อย่างยืดหยุ่นตอบโจทย์ชีวิต และตรงใจคนในชุมชนเท่านั้นพวกเขายังร่วมกันสร้างคนให้กลายเป็นทั้งปราชญ์แกนนำชุมชน และที่สำคัญคือเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้กระบวนการผลิตกกและผือตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำไม่ว่าจะเป็นการปลูก การย้อมการสาน และการแปรรูปให้กับคนในและนอกชุมชนทุกช่วงวัยรวมถึงเกิดการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ก.กกบึงกาฬ ขึ้นในตำบลโนนสมบูรณ์โดยเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 ที่ผ่านมากลุ่ม ก.กกบึงกาฬ ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลโนนสมบูรณ์อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬจัดเวที “สานพลังพื้นที่…ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สู่ความเสมอภาคทางการศึกษา” เพื่อให้ภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานระหว่างกัน

            ทั้งนี้ภายในงานได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ดร.สมพงษ์จิตระดับ กรรมการบริหารและประธานอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงานนอกระบบกสศ.และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและนอกพื้นที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทำให้เห็น “โมเดลต้นแบบ”การทำงานกับคนทุกกลุ่มและทุกช่วงวัยโดยนัยยะสำคัญของเวทีนี้คือ “การพัฒนาคนแม้เพียง 1 คนหากเขาได้รับการพัฒนาที่ดีเขาจะกลายเป็นตัวคูณสำคัญให้พื้นที่สามารถขับเคลื่อนงานต่อไปได้ด้วยตนเอง”เฉกเช่นกับกลุ่ม ก.กกบึงกาฬ ที่แม้วันนี้จะไม่รับการสนับสนุนงบประมาณจากกสศ. แล้วแต่รากฐานที่ กสศ. และคณะทำงานในพื้นที่ได้ร่วมกันสร้างอย่าง“รุกถึงที่ลุยถึงถิ่น”ไว้ตั้งแต่ต้นน้ำ ได้ก่อให้เกิดความงอกงามที่ปลายน้ำด้วยการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนนั่นเอง

            ทั้งนี้ภายในงานได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ดร.สมพงษ์จิตระดับ กรรมการบริหารและประธานอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงานนอกระบบกสศ.และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและนอกพื้นที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทำให้เห็น “โมเดลต้นแบบ”การทำงานกับคนทุกกลุ่มและทุกช่วงวัยโดยนัยยะสำคัญของเวทีนี้คือ “การพัฒนาคนแม้เพียง 1 คนหากเขาได้รับการพัฒนาที่ดีเขาจะกลายเป็นตัวคูณสำคัญให้พื้นที่สามารถขับเคลื่อนงานต่อไปได้ด้วยตนเอง”เฉกเช่นกับกลุ่ม ก.กกบึงกาฬ ที่แม้วันนี้จะไม่รับการสนับสนุนงบประมาณจากกสศ. แล้วแต่รากฐานที่ กสศ. และคณะทำงานในพื้นที่ได้ร่วมกันสร้างอย่าง“รุกถึงที่ลุยถึงถิ่น”ไว้ตั้งแต่ต้นน้ำ ได้ก่อให้เกิดความงอกงามที่ปลายน้ำด้วยการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนนั่นเอง

            นางรัศมี กล่าวว่าเป้าหมายของการจัดตั้งกองทุน“ก.กกบึงกาฬสานสัมพันธ์ชุมชน”ของที่นี่จะแตกต่างจากกองทุนอื่นๆ โดยเธอได้ชวนทั้งตำบลมาถอดบทเรียนการทำงานกองทุนร่วมกันเพื่อหาจุดเด่นและข้อควรแก้ไขมาพัฒนาให้กองทุนนี้มีความแตกต่างโดยเน้นไปที่การสร้างเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการประกอบอาชีพทั้งแบบกลุ่มและแบบเดี่ยวที่ผู้ด้อยโอกาสในชุมชนสนใจโดยใช้ต้นแบบของก.กก บึงกาฬ เป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและที่สำคัญต้องเกิดการส่งต่อและสืบทอดภูมิปัญญา

            โดยระหว่างการกู้ยืมทุนไปประกอบอาชีพก็จะมีทีมงานคอยช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้กู้ให้อยู่เสมอเพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ตามที่นายประเวช เหล่าประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดบึงกาฬ กล่าวไว้ คือการทำให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีคุณภาพชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สมบูรณ์ทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณ และมีคุณธรรม เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ และจากสโลแกนของจังหวัดบึงกาฬ “สร้างคน สร้างเมือง สร้างรายได้” จึงต้องทำให้ประชาชนสามารถเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่กับท้องถิ่นให้ได้ มีรายได้ มีอาชีพ มีงานทำ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ต้องทิ้งถิ่นฐาน เรียนแล้วไม่ต้องทิ้งบ้าน ทิ้งลูก ทิ้งหลานไปทำงานที่อื่น เนื่องจากการเรียนในปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์ในวิถีชีวิตของคนในชุมชน แต่วันนี้ได้กลับคืนมาย้อนมองในส่วนของการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ยึดพื้นที่ชุมชนเป็นหลัก “ เริ่มจากต้นทุนที่มี อย่าไปมองสิ่งที่ขาด แล้วช่วยกันทั้งเครือข่าย” 

            ทั้งนี้ เงินทุนหมุนเวียนได้รับการสนับสนุนจากทั้งมูลนิธิเอสซีจีผู้ใหญ่ใจดี และกลุ่มสมาชิกซึ่งในช่วงแรกของการสำรวจกลุ่มผู้ด้อยโอกาส จะมีเวทีการคัดเลือก “รุกถึงที่ลุยถึงถิ่นลงไปถึงหมู่บ้านหาคนที่พร้อมจะเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ โดยใช้กองทุนนี้เป็นสื่อกลางในการพัฒนาตนเองและสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต”และสิ่งสำคัญคือต้องติดตามอย่างต่อเนื่องหนุนเสริม ให้กำลังใจให้เขามีความสุขเพราะถ้าคนเรามีความสุขก็จะเกิดการเรียนรู้ได้ดีและต่อเนื่องซึ่งปัจจุบันนางรัศมี วางแผนว่าจะทำให้กองทุนนี้เติบโตขึ้นเพื่อไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสให้ได้มากยิ่งขึ้น

            และในอนาคต ร.ต.พูนศักดิ์ พระรัตภูมี ศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ ก็ได้วางแผนเตรียมคนให้พร้อมเพื่อที่จะรองรับโอกาสในวันข้างหน้า ตามสโลแกนของจังหวัดที่ให้ความสำคัญกับการ “สร้างเมือง สร้างคน สร้างรายได้” เพราะเมื่อเมืองมีความพร้อม คนมีความพร้อม รายได้ก็จะเกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันจังหวัดบึงกาฬได้รับโอกาสจาก กสศ. ให้เป็นจังหวัดนำร่องเพื่อ Set Zero เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาทั้งหมดกว่า 4,700 คน ในจังหวัด โดยได้มีการ MOU ร่วมกับ กสศ. เพื่อที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามแนวคิดของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดว่า “เด็กบึงกาฬทุกคนต้องได้เรียนและพัฒนา” จึงกำลังดำเนินการเรื่องบึงกาฬโมเดลเพื่อทำให้เกิด Zero Dropout โดยใช้ตำบลเป็นฐาน เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ปกครอง รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง และเพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนก้าวไปสู่เป้าหมายของตัวเองให้ได้ โดยบึงกาฬโมเดลที่ร่วมมือกับ กสศ. นั้นจะขยายผลให้ครบทั้ง 52 ตำบล ในปี 2568

            ศาสตราจารย์ดร.สมพงษ์จิตระดับกรรมการบริหารและประธานอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและประชากรแรงงานนอกระบบกสศ.กล่าวทิ้งท้ายว่า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ทำให้เห็นรูปธรรมว่าชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้หากทุกคนในชุมชนตื่นตัวซึ่ง ก.กกบึงกาฬ จะเป็นต้นแบบเป็นตัวอย่างองค์ความรู้ให้ชุมชนอื่น ๆตื่นตัวและเดินตามได้ และผมเชื่อว่าหน่วยจัดการเรียนรู้ในพื้นที่เช่นนี้จะเป็นคานงัดสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศได้.

Cr.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)